วันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2553

เกมคณิตศาสตร์

เกมคณิตศาสตร์
คุุณเคยสังเกตหรือเปล่าว่าเกมอะไรที่คุณพบเห็นผู้คนเล่นกันอยู่บ่อย เป็นเกมที่เล่นกัน ได้โดยไม่จำกัดสถานที่ คุณอาจจะเห็นนักเรียนนิสิตนักศึกษาเล่นกันในโรงเรียนหรือสถาน ศึกษาต่างๆ คนงานตามโรงงานเล่นกันในระหว่างหยุดพัก บางครั้งอาจจะเห็นผู้เล่นเกมนี้ตาม ริมถนนหนทางเสียด้วยซ้ำไป หรือแม้แต่สมาชิก ในครอบครัวของคุณเองก็อาจจะสนุกและ คลั่งไคล้กับเกมนี้ด้วย.......เกมอะไรเอ่ย......
คงจะพอนึกกันออกนะครับว่าเกมอะไร ใช่ครับ... เกมนั้นคือ "หมากฮอส" นั่นเอง เนื่องจากอุปกรณ์ที่ใช้เล่นเกมนี้หาได้ง่ายและ เล่นกันได้สะดวก โดยอาจจะขีดตารางบนโต๊ะ ที่นั่งหรือไม่ก็ขีดตารางลงบนพื้นก็มี ตัวหมากที่ใช้ฝาขวดน้ำอัดลม ในที่บางแห่งก็จะมีโต๊ะหรือ ม้าหินที่ทำลวดลายเป็นตารางหมากฮอสไว้เลยที่เดียวเพื่อใช้เล่นหมากฮอสในเวลานั่งพักผ่อน เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้อย่าเข้าใจผิดว่าผู้เขียนกำลังจะแนะนำเกมหมากฮอสนะครับ แต่ เพราะเมื่อผู้เขียนเห็นตารางหมากฮอสบนพื้นถนนหรือบนโต๊ะม้าหินให้นึกถึงเกมๆ หนึ่งขึ้นมา เลยอดไม่ได้ที่จะนำมาเล่าสู่กันฟัง เกมนี้เป็นเกมที่นิยมเล่นกันติดอันดับไม่แพ้เกมหมากฮอส เหมือนกันมาตั้งแต่โบราณทีเดียว จนแม้กระทั้งในปัจจุบันนี้ก็ยังนิยมเล่นกันอยู่ ตามประวัติ กล่าวว่าเด็กเลี้ยงแกะชอบเล่นเกมนี้กันขณะนำแกะไปเลี้ยง โดยใช้ไม้ขีดตารางบนพื้นดินและ ใช้ก้อนหินกับเมล็ดถั่วเป็นตัวหมาก ตัวอย่างหลักฐานที่แสดงว่ามีการเล่นเกมนี้กันมาตั้งแต่ สมัยโบราณก็คือ มีการค้นพบตารางหมากที่ใช้เล่นเกมนี้แกะสลักอยู่ที่หลังคาโบสต์ของชาว อิยิปต์ที่ Kurna ที่สร้างขึ้นเมื่อประมาณ 1,400 ปี ก่อนคริสตศักราช แต่ถึงแม้เกมนี้จะเกมที เล่นกันมาตั้งแต่สมัยโบราณแต่ก็เป็นเกมที่สนุกสนาน และน่าสนใจไม่น้อยที่เดียว เกมนี้มีชื่อ ว่า Nine Men Moris ซึ่งผู้เขียนขอเรียกชื่อเป็นภาษาไทยว่าเกม "สามทหารเสือ" เกมนี้นิยม เล่นกันทั่วไปในยุโรปโดยมีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เช่นในประเทศเยอรมันแฃะออสเตรีย เรียกเกม นี้ว่า "Marellers" ใน Iceland เรียกว่า Mylla ในอังกฤษเรียกว่า "Mill" เป็นต้น
กระดานหมากที่ใช้เล่นเกมสามทหารเสือเป็นตารางซึ่งประกอบด้วยสี่เหลี่ยมจัตุรัส 3 รูป ที่มีจุดยอดของแต่ละรูปอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน และมีเส้นตัดขวางด้านทั้งสี่ที่ทำให้ เกิดจุดตัดทั้งหมด 24 จุด (ดังรูปที่ 1) แต่ในการเล่มเกมนี้ในปัจจุบันได้มีการดัดแปลงกระดาน หมาก โดยตัดเส้นในแนวเส้นที่เชื่อมมุมทั้งสี่ของแต่ละรูปออก นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยน ลักษณะตารางและจำนวนตัวหมากที่ใช้ในการเล่นตามความเหมาะสม
เกมสามทหารเสือที่จะแนะนำต่อไปนี้เป็นเกมสามทหารเสือชนิด 9 ตัวซึ่งมีลักษณะกระ ดานหมากและวิธีเล่นดังนี้
อุปกรณ์
1. กระกานหมากขนาดพอเหมาะเขียนเป็นตารางที่ประกอบด้วยรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ที่ต่างขนาดกัน 2 รูป (ดังรูปที่ 2)และมีเส้นตัดขวางทำให้เกิดจุดต่าง ๆ 24 จุด(ขยายขนาด- ตามความเหมาะสม)
2. ตัวหมาก ใช้หมากต่างกัน 2 ชุดๆละ9 ตัว (อาจจะใช้เหรียญหรือฝาขวดน้ำ- อัดลมก็ได้)

กติกา
1. ใช้ผู้เล่น 2 คน แต่ละคนเลือกสีหมากของตนและเลือกหมากตามสีที่เลือกไว้ ฝ่ายละ 9 ตัว
2. ผู้เล่น 2 คนผลัดกันวางหมากของตนลงบนจุดตัดทั้ง 24 จุดนั้นที่ละอันสลับ กันโดยพยายามวางให้หมากของตนลงบนจุดตัดทั้ง 24 จุดนั้นที่ละอันสลับกัน โดยพยายาม วาง หมากของฝ่ายตน 3 ตัวเรียงกันอยู่ในแนวส่วนของเส้นตรงเดียวกัน ถ้าวางหมากเรียงกัน 3 ตัวในลักษณะดังกล่าวได้ เรียกหมากนั้นว่า "สามทหารเสือ"
3. ถ้าผู้เล่นคนใดวางหมากให้เกิด "สามทหารเสือ" ได้ ให้ผู้เล่นคนนั่นหยิบหมาก ของคู่แข่งขันออกจากกระดานได้ 1 อันซึ่งหมากที่หยิบออกไปนี้จะนำมาใช้อีกไม่ได้ แต่หมาก ที่หยิบนั้นจะต้องไม่ใช่หมากที่อยู่ในลักษณะของ "สามทหารเสือ"
4. หลังจากที่หยับหมากของคู่แข่งขันออกแล้วฝ่ายที่ถูกหยิบหมากออกเป็นผู้วาง หมากต่อไป และผลัดกันวาง(และหยิบ)หมากต่อไปตามวิธีที่กล่าวในข้อ 2, และ 3
5. ถ้าผู้เล่นคนใดวางหมากของตนลงหมดแล้ว เมื่อถึงคราวเล่นต่อไป ให้เล่นต่อไป โดยเลื่อนหมากของตนไปยังจุดข้างเคียงที่ว่างและเป็นจุดที่ต่อกัน เพื่อทำให้เกิด "สามทหาร เสือ" ดังวิธีข้างต้นการเลื่อนหมากผู้เล่นอาจจะเลือนหมากของตนอันใดอัน หนึ่งที่อยู่ในรูป "สามทหารเสือ" ออกไปจากแนวเส้นตรงเดิมได้ และเมื่อถึงคราวเดินอีกครั้งหนึ่งก็สามารถเลื่อน กลับเข้ามาเพื่อทำให้เกิด "สามทหารเสือ"ใหม่ได้
6. ผู้เล่นที่สามารถยกหมากของคู่แข่งขันออกไปได้จนเหลือ 2 ตัวหรือสามารถกั้น ไม่ให้คู่ต่อสู้สามารถเลื่อนหมากไปได้เป็นผู้ชนะ
หมายเหตุ การเลื่อนหมากในกรณีที่มีหมากเหลือเกิน 3 ตัว การเลื่อนหมากจะเลื่อนได้จากจุด หนึ่งไปยังจุดที่ติดกัน(ที่ว่าง)ในแนวเส้นตรงเท่านั้น แต่ถ้าผู้เล่นเหลือหมากเพียง 3 ตัวเท่านั้น ผู้เล่นอาจจะตกลงกันว่าให้สามารถเลื่อนจากจุดที่อยู่ไปยังจุดใดก็ได้ที่อยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน
เป็นอย่างไรบ้างครับ วิธีการเล่นเกมสามทหารเสือคงไม่ยากเกินไปนะครับ ลองเล่นดู สักหน่อยแล้วจะรู้สึกว่าน่าสนุกไม่น้อยเลยทีเดียว
ผู้ที่เล่นเกมนี้นอกจากจะได้ความสนุกสนานเพลิดเพลินแล้ว ยังจะช่วยให้ได้ฝึกใช้ความ คิดใช้เหตุใช้ผล มีหลักการในการสังเกต การวางแผนและกำหนดยุทธวิธีที่จะต้องใช้เมื่อประสบ กับสถานการณ์ในลักษณะต่าง ๆ กัน หลังจากที่ท่านได้เล่นเกมนี้หลายครั้งแล้วลองสำรวจตัว ท่านเองซิว่าได้ฝึกการวางแผนและกลยุทธ์ให้กับตัวอย่างไรและเพียงใด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น