วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การศึกษาทางไกล
การศึกษาทางไกลเป็นความพยายามของนักการศึกษาในการที่จะจัดการศึกษาได้แก่ผู้ที่ไม่สามารถจะเข้ารับการศึกษาตามปกติในชั้นเรียนได้ นอกจากนี้แล้วการที่วิทยาการได้ก้าวหน้าไปอย่างมากทำให้ผู้ที่อยู่นอกระบบการศึกษาจำเป็นต้องพัฒนาตนเองเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน ดังนั้นการจัดการศึกษาทางไกลจึงมีบทบาทต่อการศึกษาของประเทศเป็นอย่างสูง1 ความหมายของการศึกษาทางไกล โฮน์นิชและคณะ (1993:282) ได้ให้ความหมายของการศึกษาทางไกลว่า "เป็นการศึกษาที่มีลักษณะที่ผู้เรียนอยู่ห่างไกลจากผู้สอนโปรแกรมการเรียนได้รับการจัดวางเป็นระบบ มีการใช้สื่อการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและการสื่อความหมายเป็นไปแบบสองทาง" บอร์ก โฮล์มเบิร์ก (1989:127) กล่าวว่า "หมายถึง การศึกษาที่ผู้เรียนและผู้สอนมิได้มาเรียนหรือสอนกันซึ่ง ๆ หน้า แต่เป็นการจัดโดยระบบสื่อสารแบบสองทาง ถึงแม้ผู้เรียนและผู้สอนจะไม่อยู่ในห้องเดียวกันก็ตาม" วิจิตร ศรีสอ้าน (2529:5-7) กล่าวว่า "หมายถึงระบบการเรียนการสอนที่ไม่มีชั้นเรียน แต่อาศัยสื่อประสมอันได้แก่สื่อทางไปรษณีย์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และการสอนเสริม รวมทั้งศูนย์บริการการศึกษาเป็นหลัก โดยมุ่งให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองอยู่กับบ้านไม่ต้องมาเข้าชั้นเรียนตามปกติ"2 ลักษณะสำคัญของการศึกษาทางไกล ระบบการศึกษาทางไกล มีลักษณะของการจัดการศึกษาที่ต่างไปจากระบบการเรียนการสอนโดยปกติ ซึ่งอาจจะสรุปลักษณะที่สำคัญของระบบการศึกษาทางไกลได้ดังนี้ 1) ผู้เรียนผู้สอนไม่อยู่ประจันหน้ากัน เนื่องจากผู้เรียนไม่สามารถมาเข้าชั้นเรียน โดยปกติได้ดังนั้น ผู้เรียนจะเรียนด้วยตนเองที่บ้าน โดยอาจมาพบผู้สอนในบางเวลา 2) เน้นผู้เรียนเป็นจุดศูนย์กลางของการเรียน ผู้เรียนเป็นผู้เลือกวิชาและกำหนดเวลาเรียนและกิจกรรมการเรียนของตนเอง 3) สื่อการสอนเป็นสื่อหลักในกระบวนการเรียนการสอน ผู้สอนจะเป็นสื่อหลัก ในการศึกษาทางไกลสื่อหลักจะเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุโทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียง ฯลฯ เป็นสื่อหลัก3 สื่อการสอนกับการศึกษาทางไกล เนื่องจากผู้เรียนต้องศึกษาด้วยตนเองเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นสื่อการสอนจึงมีความสำคัญยิ่งสำหรับการศึกษาทางไกล ซึ่งสื่อการสอนที่ใช้อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1)สื่อสิ่งพิมพ์ เป็นสื่อประเภทสิ่งพิมพ์ได้แก่ เอกสารตำรา แบบฝึกปฏิบัติ ผู้เรียนจะอาศัยสื่อสิ่งพิมพ์เป็นสื่อหลักเนื่องจากราคาถูก เก็บได้นานและไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ประกอบ 2)สื่อโสตทัศนูปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ นับได้ว่าเป็นสื่อรองจากสื่อสิ่งพิมพ์ที่จะช่วยในการเสริมความรู้ในกระบวนการเรียนของผู้เรียน โดยอาจจะเป็นการสอนทางโทรทัศน์ เทปเสียงบรรยาย เทปวีดิทัศน์ รายการวิทยุกระจายเสียง 3)สื่ออิเล็กทรอนิกส์และระบบโทรคมนาคม เนื่องจากการพัฒนาการของอิเล็กทรอนิกส์และระบบโทรคมนาคมเป็นไปอย่างรวดเร็ว จึงมีการนำเอามาใช้ในการจัดการศึกษาทางไกล โดยใช้ระบบดาวเทียมและท่อใยแก้วนำแสงในการส่งข่าวสารข้อมูล มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่ง
4 การศึกษาในระบบและการศึกษานอกระบบกับการศึกษาทางไกล1) การศึกษาในระบบ การศึกษาทางไกลเข้ามามีบทบาทสำคัญยิ่งในการจัด การศึกษาทั่วการศึกษา ในระบบและการศึกษานอกระบบ มีหลายหน่วยงานที่จัดการศึกษาทางไกล ทั้งในระดับต่ำกว่าอุดมศึกษาและระดับอุดมศึกษา การศึกษาในระบบโดยทั่วไปก็คือการที่ผู้เรียนมาเรียนในชั้นเรียนปกติมีผู้สอนอยู่ในชั้นเรียน สำหรับการศึกษาทางไกลมีลักษณะที่ผู้เรียนและผู้สอนไม่ได้อยู่ประจันหน้ากัน ผู้สอนจะอยู่ห่างไกลจากชั้นเรียนออกไป การศึกษาทางไกลสำหรับการศึกษาในระบบระดับต่ำกว่าอุดมศึกษา ซึ่งดำเนินการโดยกรมสามัญศึกษา และในระดับอุดมศึกษาได้แก่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร สถาบันราชภัฏสวนดุสิต และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เป็นต้น 2) การศึกษานอกระบบ การศึกษานอกระบบจะเป็นลักษณะของการศึกษาที่ไม่มีเวลาเรียนแน่นอนตายตัว ไม่มีการกำหนดอายุของผู้เรียน ผู้เรียนจะมาเข้าชั้นเรียนหรือไม่ก็ได้ การเรียนการสอนอาจจะมาพบกัน ณ ศูนย์บริการวิชาการหรืออาจจะเรียนผ่านรายการโทรทัศน์ที่บ้าน จะมีการสอนในระดับต่ำกว่าอุดมศึกษา ซึ่งดำเนินการโดยกรมการศึกษานอกโรงเรียน ส่วนในระดับอุดมศึกษาก็ได้แก่ สถาบันราชภัฏสวนดุสิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง และมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นต้น5 ข้อดีของการศึกษาทางไกล ดังกล่าวแล้วว่ามีการจัดการศึกษาทางไกลสำหรับการศึกษาในระบบและการศึกษานอกระบบ ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า การศึกษาทางไกลมีข้อดีหรือมีประโยชน์ต่อการศึกษาต่าง ๆ ในแง่มุม ดังนี้ 1) ผู้เรียนได้เรียนกับผู้สอนที่มีความเชี่ยวชาญในเนื้อหานั้น ๆ 2) สามารถบันทึกคำบรรยายหรือการสอนส่งผ่านคอมพิวเตอร์ หรือโทรทัศน์ไปยังผู้เรียนได้โดยสะดวก 3) ผู้เรียนที่อยู่ในการศึกษานอกระบบ ไม่จำเป็นต้องเดินทางมายังสถานศึกษาเหมือนปกติ และยังสามารถทำงานในสถานประกอบของตนเองได้ 4) ตอบสนองความต้องการในการแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาคน และพัฒนางานในวิชาชีพของบุคคลได้ โดยไม่ต้องเข้ารับการศึกษาในสถานศึกษาในระบบปกติ นอกจากชุดการสอน การสอนแบบโปรแกรม และการศึกษาทางไกลแล้ว ยังมีนวัตกรรม อีกมากมายที่นำมาใช้ในการศึกษา อาทิเช่น การสอนเป็นคณะ (Team Teaching) การสอนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-graded school) การสอนแบบจุลภาค (Micro teaching) คอมพิวเตอร์ทางการศึกษา (Computer in Education) ศูนย์การเรียน (Learning Center) และห้องเรียนเสมือนจริง (Virtual Classroom) เป็นต้น นวัตกรรมที่กล่าวถึงมีการนำมาทดลองใช้ในการจัดการศึกษา มีการวิจัยแล้วว่าทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพสูงขึ้นจริง แต่งเนื่องจากมีข้อจำกัดในด้านความรู้ในการนำไปใช้ตลอดจนงบประมาณจึงจะทำให้นวัตกรรมดังกล่าวขาดการพัฒนาและหายไปในที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น