วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วันเสาร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2553

แนวการจัดกิจกรรมการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้คณิตในชีวิตประจำวันโดยใช้ KM
โดย นางจรรยา นิลทรัพย์
รหัส 52920489
ครูผู้สอนคงจะมีปัญหาที่ต้องถามตนเองว่า จะสอนคณิตศาสตร์ เพื่อให้ผู้เรียนนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร ก่อนอื่น เราคงต้องพิจารณาคำว่า "คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน" คำนี้น่าจะหมายถึงอย่างอะไร

คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน น่าจะหมายถึง การใช้วิธีการคำนวณทางคณิตศาสตร์ ในการแก้ไขปัญหาบางประการในชีวิตประจำวัน เช่น ถ้านักเรียนจะเดินทางจากจังหวัดแพร่มากรุงเทพฯ อยากจะทราบว่า ค่าใช้จ่ายในการเดินทางโดยทางรถไฟ กับรถยนต์โดยสารปรับอากาศ เมื่อรวมค่ารถรับจ้างจากสถานีรถไฟ หรือสถานีขนส่งสายเหนือที่นักเรียนจะต้องจ่ายแล้ว ควรจะเลือกเดินทางด้วยวิธีใดดี ปัญหาที่กล่าวมานี้ใช้การบวกในการแก้ปัญหา
ตัวอย่างของปัญหาที่ใช้การคำนวณร้อยละใน การแก้ปัญหา เช่น ถ้านักเรียนคนหนึ่ง ไปแข่งขันตอบปัญหาของหนังสือรายสัปดาห์ฉบับหนึ่ง ได้เงินรางวัลมา 50,000 บาท และจะใช้เงินจำนวนที่ได้ในอีก -1 เดือนข้างหน้า จึงคิดว่า ถ้านำเงินจำนวนนี้ไปฝากธนาคารไว้ก่อน โดยฝากในบัญชีเงินฝากประจำประเภท -1 เดือน ได้ดอกเบี้ยร้อยละ 8.5 แต่จะต้องเสียภาษี 15% ต่อปี กับถ้าฝากเงินแบบออมทรัพย์ ได้ดอกเบี้ยร้อยละ 6.75 ต่อปี นักเรียนควรจะฝากแบบใดจึงจะได้ดอกเบี้ยมากกว่ากัน เป็นต้น ปัญหาในชีวิตประจำวันในลักษณะดังกล่าว ครูผู้สอนอาจจะให้โจทย์ปัญหา และให้นักเรียนช่วยกันหาข้อมูลที่จะมาใช้แก้ปัญหา (เช่น หาอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคาร) แล้วมาช่วยกันหาคำตอบในชั่วโมงกิจกรรม หรือครูให้เป็นการบ้านพิเศษ ก็น่าจะเป็นวิธีการที่จะทำให้นักเรียนได้มองเห็น ประโยชน์ของคณิตศาสตร์ได้ โดยใช้คำถามทำนองนี้เป็นเครื่องมือ รวมทั้งจะเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจในการเรียนคณิตศาสตร์มากขึ้นด้วย
ตัวอย่างการจัดกิจกรรมการสอนคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน โดยยกตัวอย่างจากเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับตัวนักเรียน
โจทย์คำถามในลักษณะข้างต้น เป็นตัวอย่างในการที่จะเชื่อมโยงการแก้ปัญหาบางประการ ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งเป็นการฝึกให้นักเรียนรู้จักวางแผนการทำงาน โดยใช้คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือ โจทย์ในทำนองดังกล่าวนี้ มีหลายเรื่องที่ครูผู้สอนจะนำมาใช้ได้ ข้อที่ควรคำนึงถึงก็คือ เวลาจะให้โจทย์ในลักษณะนี้ ครูผู้สอนควรฝึกให้นักเรียนรู้จักไปหาข้อมูลมาด้วยตัวเอง โดยครูอาจจะแนะแหล่งที่จะไปหาข้อมูล และเมื่อนักเรียนแก้ปัญหาโจทย์ได้แล้ว ครูควรสรุปคำถาม และควรมีข้อเสนอแนะอื่น ๆ เพิ่มเติม เพื่อช่วยให้นักเรียนเกิดความรู้ความคิดกว้างขวางขึ้น นอกเหนือจากการมีความรู้แต่เพียงการเรียนในชั้นเรียน ทั่งนี้ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของครูผู้สอนว่า มีความพร้อมหรือไม่ และกิจกรรมดังกล่าวเหมาะสมกับชั้นเรียนของท่านหรือไม่ เพียงใดด้วย

วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2553

วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ความหมายการศึกษาทางไกล
"การศึกษาทางไกล" เป็นอีกรูปแบบการเรียนการสอนที่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมี ประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกล หรือขาดแคลนบุคลากรผู้สอน ผู้สอนจะถ่ายทอดวิชาส่งผ่านสื่อในรูปแบบต่างๆ เช่น ทางโทรทัศน์เพื่อการศึกษา วิทยุ ซีดีรอม เทปรายวิชาต่างๆ แม้แต่หนังสือประกอบการเรียนไปยังผู้เรียน เป็นการเรียนการ สอนรับส่งด้านเดียว ไม่มีการปฏิสัมพันธ์กันระหว่าง อาจารย์ และนักเรียน การศึกษาในรูปแบบนี้ค่อนข้างอิสระ และสบาย เพราะผู้เรียนต้องศึกษาด้วยตนเอง การเอาใจใส่ และกระตือรือร้นจึงมี น้อยกว่า เนื่องจากไม่มีอาจารย์คอยควบคุมใกล้ชิดมากนัก เทคนิคการเรียนจึงเป็นสิ่งแรกที่ "ผู้เรียน" ควรทำความรู้จักอันเป็น กุญแจนำไปสู่ความสำเร็จในการเรียนการศึกษาทางไกล "เทคนิคการเรียน" คือ วิธีการเรียนที่จะให้ได้ผลการเรียนดีที่สุดโดยใช้ความพยายามน้อยที่สุด ถ้าคุณต้องการเข้าใจ เนื้อหา ก็ต้องศึกษาแบบเจาะลึกไม่ใช่เพียงผิวเผิน พยายามอ่าน ทำความเข้าใจอย่างแท้จริง ไม่ใช่เพียงแค่ท่องจำ ซึ่งวิธีการเรียน แบบนี้ แต่ละคนจะมีวิธีการเรียนของตัวเอง สำหรับผู้เรียนการศึกษาทางไกล ลองพิจารณาข้อเสนอแนะต่อจากนี้ แล้วลองปฏิบัติ ดูอาจเป็นประโยชน์ต่อตัวท่านเองก็เป็นได้ เริ่มจากเมื่อคุณตัดสินใจได้ว่าจะเรียนอะไรแล้วสิ่งที่นึกถึงจากนั้น คือ "สื่อ" ที่คุณมีอยู่ เช่น เอกสาร ตำรา ครู เพื่อนร่วมงาน เครื่องคอมพิวเตอร์ เทปเสียง แผ่นซีดี โทรศัพท์ และวิดีทัศน์ อันดับต่อมา คือ ตัวคุณเอง และเวลาในการศึกษา ซึ่งหมายถึงผู้เรียนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบและศึกษาด้วยตนเอง ตามแบบการศึกษาทางไกล บทบาทของ ผู้เรียนเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ผู้เรียนจะต้องพัฒนาความเป็นผู้ใฝ่รู้ ในขณะที่ผู้สอนเป็นเพียงผู้ช่วย ผู้เรียนจะต้องตระหนักตั้งแต่เริ่มต้นว่า มีจุดประสงค์อย่างไรและต้องทำอะไรบ้าง ต้องรู้ว่าจะต้องรับผิดชอบอะไร ประเมินความก้าวหน้าการเรียนอย่างไร ต้องติดต่อกับผู้สอนทางไกลตลอดเวลาเพื่อจะได้รู้ว่าผลการสอนจะเน้นอย่างไร การเรียน เป็นงานที่หนักยิ่งของผู้เรียนและต้องเตรียมความพร้อมเพียงใด การเตรียมตัวที่ดีความสำเร็จย่อมมีมากก่อนตัดสินใจที่จะเรียนจะพิจารณาว่ามีอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับคุณ เช่น สภาพแวดล้อมส่วนตัวเป็นอย่างไร มีครอบครัว หรือยัง มีลูกเล็กๆ หรือเปล่า ทำงานเต็มเวลาหรือบางเวลาจะเรียนเต็มเวลาหรือบางเวลา ที่บ้านมีคนอยู่มากหรือไม่ จะต้อง ทำงานที่โต๊ะอาหาร โดยมีสมาชิกในครอบครัวหลายคน แต่ทำอย่างไรเราจึงจะมีสมาธิกับการเรียนได้ที่เรียน ถ้าบ้านของคุณแออัดจนหาที่เงียบๆ ไม่ได้ ห้องสมุดหลังศูนย์การเรียนอาจเป็นทางเลือกที่จะให้คุณได้ใช้ศึกษา เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกอื่นๆ อาจเป็นสิ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้คุณในเรื่องของการช่วยเรียน ได้ หรือคุณอาจศึกษาจากผู้เรียนอื่นๆ ซึ่งการพูดคุยกับผู้เรียนคนอื่นก็นับว่าเป็นสิ่งที่ดีในเรื่องของการเรียนรู้ได้เปลี่ยนนิสัย ชีวิตผู้ใหญ่ในสังคมเป็นชีวิตที่มีภาระมาก จึงเป็นเรื่องยากที่จะหาเวลาทำทุกอย่างได้ การจะจัดเวลาทำ การบ้าน การดูแลบ้าน พาลูกไปโรงเรียน ทำกิจกรรม ดูโทรทัศน์ หรือทำงานประจำอื่นๆ เป็นเรื่องยากที่จะเพิ่มเรื่องการเรียนเข้า ไป ทำให้บางครั้งต้องตัดกิจกรรมบางอย่างออกไป คิดดูว่าจะสามารถตัดอะไรได้บ้าง การวางแผนเหล่านี้เป็นเรื่องเฉพาะตัวและ ผู้เรียนเท่านั้นที่จะพิจารณาว่าจะทำอย่างไร ถ้าต้องเรียน อาจเป็นเรื่องยากที่จะทำการบ้าน แทนที่จะทำอย่างอื่นที่สนุกกว่า อย่า คิดเช่นนั้น การตัดสินใจเรียนอาจเป็นการตัดสินใจที่ดีที่สุดในชีวิต อาจจะได้พบสิ่งที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อน การเรียนอาจเปลี่ยน แปลงชีวิต หรือสามารถให้โอกาสชีวิตใหม่ๆ ก็เป็นได้วิธีการ เมื่อผู้เรียนสมัครเรียนทางไกลจะได้พบผู้สอน/ อาจารย์ที่ปรึกษา จากสถาบันและได้รับเอกสารต่างๆ เกี่ยวกับ หลักสูตร และขอบเขตของหลักสูตร ก่อนอื่นควรดูเอกสารต่างๆ และลองจัดเวลาดูว่าจะต้องใช้เวลาเรียนอาทิตย์ละกี่ชั่วโมง ถ้า เห็นว่าเวลาว่างน้อยแสดงว่าต้องใช้เวลามากขึ้น ในแต่ละวันการเรียนต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ เป็นเรื่องน่าเบื่อ อย่างน้อยต้องหา เวลาพักหรือได้เดินเล่นบ้าง การศึกษาเอกสารก่อนจะทำให้คำนวณได้อย่างคร่าวๆ ว่ามีหลักสูตรอะไรบ้างจากสื่อ การเรียนไปแต่ ละหน่วยจะค่อยๆ เริ่มจากง่ายไปหายากบ้าง ผู้เรียนต้องศึกษาให้เข้าใจไปทีละน้อยตามลำดับความเครียด ความเครียดเป็นผลร้ายต่อการเรียน วิธีหลีกเลี่ยงความเครียดที่ดีที่สุด คือ วางแผนและฝึกจิตใจ ปฏิบัติ ตามแผนที่วางไว้และทำงานทุกวัน หลีกเลี่ยงการทำงานที่คั่งค้าง ส่งงานตามเวลา แต่ถ้าทำไม่ได้ คุยหรืออธิบายสถานการณ์ให้ ผู้สอนเสริมหรืออาจารย์ที่ปรึกษาทราบ แทนที่จะรู้สึกเครียดหรือหงุดหงิด ติดต่อกับเพื่อผู้เรียนคนอื่นบ้างถ้ามี เพราะการที่มี เพื่อนที่อยู่สถานการณ์เดียวกัน จะเป็นที่ปรึกษาที่ดีซึ่งกันและกันได้ อธิบายให้ครอบครัวและเพื่อนเข้าใจว่าเหตุใดจึงไม่ค่อยมี เวลาให้เริ่มทำความเข้าใจกับเอกสารอย่างกว้าง ค่อยๆ อ่านทีละหน้า ดูภาพและอ่านคำบรรยาย เขียนหัวข้อและประเด็นสำคัญๆ บันทึกขีดเส้นใต้ข้อความเรื่องที่สำคัญ จับประเด็นสำคัญและย่อความด้วยคำพูดตัวเอง ถามคำถามเพื่อตรวจสอบว่าตนเองเข้าใจ เรื่องที่อ่านมากน้อยแค่ไหน ศึกษากับเพื่อนที่มี ตั้งคำถามช่วยกันคิด ทบทวนเอกสารก่อนที่จะบันทึกรายละเอียดและหัวข้อ การ จะพยายามอ่านและเขียนทุกๆ เรื่องเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ จึงต้องรู้จักจับประเด็นที่สำคัญ เพื่อประหยัดเวลาและได้ความรู้ พยายามหาวิธีของตนเอง การเรียนไม่จำกัดที่ต้องอยู่ที่โต๊ะเสมอไปหรืออาจเขียนโน๊ตย่อ ไม่จำเป็นต้องบันทึกเสมอไป อาจบันทึกเทปไว้ฟังเวลาขับรถ ทำกับข้าวหลังล้างชาม เขียนคำ หรือ วลียากๆ ไว้แล้วไปติดในที่เด่นๆ รอบบ้าน เพื่อจะได้เน้นตลอดเวลาและทำให้จำได้ ก่อนนอนอ่านตำราเล็กน้อย ถึงจะอ่านได้น้อย กว่าแต่อาจนับว่าได้อะไรบ้าง ตอบคำถามในตำราแต่ละตอน แล้วลองตั้งคำถามเองบ้าง เมื่อรู้สึกล้าลองให้รางวัลตัวเองบ้าง การ ส่งการบ้านเป็นช่วงๆ ต้องมีการวางแผนล่วงหน้าและส่งให้ตามกำหนดหากติดขัดในการเรียน หากมีปัญหาก็ให้ทิ้งงานนั้นไว้ก่อนแล้วทำงานอื่นแทนหลังจากนั้น 2-3 วันค่อยกลับมาดูใหม่ บ่อยครั้งจะแก้ปัญหาได้ แต่ถ้ายังไม่ได้ลองติดต่อกับผู้เรียน อาจารย์ที่ปรึกษา เมื่อแก้ปัญหาได้แล้วควรทบทวนอีกครั้งเพื่อให้แน่ ใจว่าเข้าใจจริงๆ ไม่ใช่เพียงแต่ยอมรับคำตอบของคนอื่นเพื่อผละไป ที่สำคัญติดต่อกับผู้สอนตลอดเวลา ไม่ใช่รอจนมีปัญหาเกิดขึ้น ถึงแม้ทุกอย่างจะเป็นไปอย่างราบรื่น เพราะการพูดคุยจะทำให้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ หรือทำให้รู้สึกดีเมื่อมีคนให้กำลังใจ ความหมายของ “การศึกษาทางไกล”การศึกษาทางไกล หมายถึง ระบบการศึกษาที่ผู้เรียนและผู้สอนอยู่ไกลกัน แต่สามารถทำให้เกิดการเรียนรู้ได้โดยอาศัยสื่อการสอนในลักษณะของสื่อประสมโดยการใช้สื่อต่างๆ ความเป็นมาของการศึกษาทางไกลการศึกษาทางไกลเริ่มมีขึ้นครั้งแรกประมาณ พ.ศ. 2393 คือระบบไปรษณีย์ ผู้เรียนที่ได้รับประโยชน์จากการเรียนทางไปรษณีย์นี้ได้แก่ ผู้พิการ ผู้หญิงที่ไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าเรียนในสถาบันของผู้ชาย บุคคลที่ทำงานตอนกลางวัน บุคคลที่อยู่ห่างไกลที่ไม่มีโรงเรียนตั้งอยู่พ.ศ. 2463-2472 มีการประดิษฐ์คิดค้นวิทยุขึ้น และโทรทัศน์ช่วง พ.ศ. 2483-2492 พ.ศ. 2443 ก็พัฒนาระบบโทรศัพท์
รูปแบบการศึกษาทางไกล
ปัจจุบันการศึกษาอยู่ในรูปแบบการศึกษาไร้พรมแดนเป็นการประสมประสานกันระหว่างการศึกษาในห้องเรียนและการศึกษาทางไกล และเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย ข่าวสารจากแหล่งต่างๆสามารถส่งถึงกันได้อย่างแพร่หลายและรวดเร็ว การจัดการศึกษาในปัจจุบันและอนาคต จึงเน้นให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมในการจัดประสบการณ์ให้กับนักเรียนและรัฐต้องนำเอาเทคโนโลยีการสื่อสารใหม่มาพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพในการจัดการศึกษาให้กว้างขวางมาเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมต่อไป
การศึกษาไร้พรมแดนมี 3 ระบบ คือ
1. ระบบการถ่ายทอดและปฏิสัมพันธ์
2. ระบบเนื้อหาและระบบหลักสูตร
3. ระบบสื่อ
1.1 ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ภาพ เสียง ตัวอักษรเครือข่ายคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องมาเชื่อมต่อกันเพื่อวัตถุประสงค์ คือ
- เพื่อให้ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารกัน
- เพื่อใช้ทรัพยากรร่วมกัน
- เพื่อใช้ข้อมูลแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน
1.2 ระบบเครือข่ายการประชุมทางไกล
เสียง ภาพ คอมพิวเตอร์เทคโนโลยีการประชุมทางไกล เป็นวิธีการนำสื่อทางไกลทั้งภาพ และเสียง คือ การนำ เอาวิทยุ โทรศัพท์ โทรทัศน์มาใช้ในการให้การศึกษากับประชาชน ด้วยการจัดให้ผู้สอนสามารถมีการส่งสัญญาณสื่อสารกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านระบบโทรทัศน์และวิทยุ จากสถานีแม่ที่ตั้งอยู่ห่างไกล ไปยังผู้เรียนที่รอรับสัญญาณอยู่ที่สถานีลูกหลายแห่งได้ ซึ่งในสถีลูกแต่ละแห่งก็มีการจัดการชั้นเรียน
1.3 เครือข่ายอินเตอร์เนต
เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เป็นระเครือข่ายเพื่อรับและส่งข้อมูล ให้กับสมาชิก โดยรวบรวมระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครือข่ายเข้าด้วยกัน ซึ่งปัจจุบันนี้มีเครือข่ายข้อมูลมากว่า 70,000 เครือข่าย ใน 152 ประเทศ และคาดว่าจะมีจำนวนเครือข่ายและสมาชิกผู้ซื้อบริการเครือข่ายเพื่มขึ้นเรื่อย และในปัจจุบันนี้มีการจัดการศึกษาผ่านอินเตอร์เนตแล้ว ทั้งในลักษณะของการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่าย และ มหาวิทยาลัยเสมือนจริงจะเห็นได้ว่า เทคโนโลยี และการสื่อสารที่ทันสมัย ข่าวสารจากแหล่งต่าง ๆ สามารถส่งถึงกันได้อย่างแพร่หลายและรวดเร็ว การจัดการศึกษาในปัจจุบันและอนาคต จึงเน้นให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดประสบการณ์ให้กับนักเรียน และรัฐต้องนำเอาเทคโนโลยี และสื่อสารใหม่มาพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพการจัดการศึกษาให้กว้างขวางมาเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้เจริญรุดหน้าพร้อมที่จะแข่งขันกับประเทศอื่น ๆ ในยุคโลกาภิวัตน์ยิ่งขึ้น
อินเทอร์เนตเกิดขึ้นได้อย่างไร
รากฐานของอินเทอร์เนต เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 20ปีมาแล้ว โดยเริ่มจากเครือข่าย ARPANETของกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีความประสงค์ที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลวิจัยทางการทหาร หลักจากนั้นระบบเครือข่ายย่อยอื่น ๆ ก็ได้ทำการต่อเชื่อมและขยายแวดวงออกไปทั่วโลกดังนั้นอินเทอร์เนตจึงไม่ได้เป็นของใครหรือของกลุ่มใดโดยเฉพาะอินเทอร์เนตทำอะไรได้บ้าง ?
เดิมทีการใช้บริการจำกัดให้ใช้ในด้านการศึกษาวิจัยและอยูในแวดวงการศึกษาเท่านั้น ต่อมาได้มีการขยายในเชิงธุรกิจมากขึ้น ทำให้ขอบข่ายการใช้ Internet มีมากมาย เช่น
1. สามารถติดต่อกับคนได้ทั่วโลก
2. สามารถใช้เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล , ความคิดเห็น
3. สามารถใช้ช่วยในการค้นหาและโอนย้าย Software ต่าง ๆ มาได้ฟรี
4. สามารถค้นคว้าวิจัย เปรียบเหมือนคุณเข้าห้องสมุดไปศึกษาค้นคว้าหนังสือต่าง ๆ โดยที่ตัวคนเองไม่ต้องไปยังห้องสมุดนั้น
5. สามารถอ่านข่าวสารของกลุ่มสนทนาต่าง ๆ
6. สามารถท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่าง ๆ ได้ทั่วโลก เช่น พิพิธภัณฑ์ , สวนสัตว์ เป็นต้น
1..4 ระบบเครือข่ายใยนำแสง ระบบสื่อตามประสงค์ VOD
2. ระบบหลักสูตร
2.1 มีความหลากหลายทั้งเนื้อหาและการเรียนการสอน จบลงในตัว
2.2 เนื้อหามีความยืดหยุ่น ไม่ตายตัว สามารถนำความรู้จากแหล่งต่างๆมาประยุกต์ใช้ในวิชาการต่างๆได้
3. ระบบสื่อในระบบสื่อนั้นต้องปรับเปลี่ยนให้เป็นดิจิตอล เป็นภาพที่มีการเคลื่อนไหว และมีเสียงที่สามารถกระตุ้นการเรียนรู้ผ่านสื่อจากยังผู้ส่งไปยังผู้รับได้อย่างมีประสิทธิภาพการใช้สื่อ ประกอบด้วย สื่อหลักและสื่อเสริมสื่อหลัก ได้แก่
1.การสอนด้วยคอมพิวเตอร์ stand alone CBIได้แก่ สื่อเสริม สิ่งพิมพ์ คู่มือการเรียนการที่ผู้สอนพบกับผู้เรียนเป็นครั้งคราวการเรียนรู้ผ่านห้องปฏิบัติการ assignment
2.การสอนด้วยระบบการประชุมทางไกลสื่อเสริม สิ่งพิมพ์ วีดีโออนดิมานด์3.การสอนด้วยระบบเครือข่าย WWW (WBI)สื่อเสริม สิ่งพิมพ์ โน๊ตย่อ การประชุมทางไกลหลักการเลือกใช้สื่อชนิดต่างๆ
- ศึกษาคุณสมบัติของสื่อแต่ละประเภท
- แสดงผลการสอนผ่านจอภาพ
- เหมาะสมกับเวลาและสถานที่
การศึกษาไร้พรมแดน คือ เป็นการผสมผสานระหว่าง การศึกษาในห้องเรียน และการศึกษาทางไกลโดยเครือข่ายสื่อสาร อิเล็กทรอนิกส์และคมนาคม ทุกรูปแบบในการสื่อสาร และมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดสังคมการเรียนรู้ ที่เรียกว่า Just in Time คือการตอบสนองต่อสังคมยุคปัจจุบัน ทำให้บุคคลมีความรู้ ก้าวมั่น ทันโลก และก้าวล้ำนำโลก ระบบการศึกษาไร้พรมแดนมี 3 ระบบ คือ1.ระบบการถ่ายทอดและปฏิสัมพันธ์-ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์-เสียง-ภาพ-ตัวอักษร-ระบบเครือข่ายการประชุมทางไกล-เสียง-ภาพ-คอมพิวเตอร์ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต-e-mail www.ระบบเครือข่ายเส้นใยนำแสง-ระบบสื่อตามประสงค์2.ระบบเนื้อหาสาระและหลักสูตร-มีความหลากหลายจบในตัว-เนื้อหามีความยืดหยุ่น3.ระบบสื่อต้องปรับเปลี่ยนให้เป็นดิจิตอล เพื่อที่จะถ่ายโอน ถ่ายทอด การใช้สื่อ จะมีสื่อหลัก และสื่อเสริม
"การศึกษาทางไกล" เป็นอีกรูปแบบการเรียนการสอนที่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมี ประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกล หรือขาดแคลนบุคลากรผู้สอน ผู้สอนจะถ่ายทอดวิชาส่งผ่านสื่อในรูปแบบต่างๆ เช่น ทางโทรทัศน์เพื่อการศึกษา วิทยุ ซีดีรอม เทปรายวิชาต่างๆ แม้แต่หนังสือประกอบการเรียนไปยังผู้เรียน เป็นการเรียนการ สอนรับส่งด้านเดียว ไม่มีการปฏิสัมพันธ์กันระหว่าง อาจารย์ และนักเรียน การศึกษาในรูปแบบนี้ค่อนข้างอิสระ และสบาย เพราะผู้เรียนต้องศึกษาด้วยตนเอง การเอาใจใส่ และกระตือรือร้นจึงมี น้อยกว่า เนื่องจากไม่มีอาจารย์คอยควบคุมใกล้ชิดมากนัก เทคนิคการเรียนจึงเป็นสิ่งแรกที่ "ผู้เรียน" ควรทำความรู้จักอันเป็น กุญแจนำไปสู่ความสำเร็จในการเรียนการศึกษาทางไกล "เทคนิคการเรียน" คือ วิธีการเรียนที่จะให้ได้ผลการเรียนดีที่สุดโดยใช้ความพยายามน้อยที่สุด ถ้าคุณต้องการเข้าใจ เนื้อหา ก็ต้องศึกษาแบบเจาะลึกไม่ใช่เพียงผิวเผิน พยายามอ่าน ทำความเข้าใจอย่างแท้จริง ไม่ใช่เพียงแค่ท่องจำ ซึ่งวิธีการเรียน แบบนี้ แต่ละคนจะมีวิธีการเรียนของตัวเอง สำหรับผู้เรียนการศึกษาทางไกล ลองพิจารณาข้อเสนอแนะต่อจากนี้ แล้วลองปฏิบัติ ดูอาจเป็นประโยชน์ต่อตัวท่านเองก็เป็นได้ เริ่มจากเมื่อคุณตัดสินใจได้ว่าจะเรียนอะไรแล้วสิ่งที่นึกถึงจากนั้น คือ "สื่อ" ที่คุณมีอยู่ เช่น เอกสาร ตำรา ครู เพื่อนร่วมงาน เครื่องคอมพิวเตอร์ เทปเสียง แผ่นซีดี โทรศัพท์ และวิดีทัศน์ อันดับต่อมา คือ ตัวคุณเอง และเวลาในการศึกษา ซึ่งหมายถึงผู้เรียนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบและศึกษาด้วยตนเอง ตามแบบการศึกษาทางไกล บทบาทของ ผู้เรียนเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ผู้เรียนจะต้องพัฒนาความเป็นผู้ใฝ่รู้ ในขณะที่ผู้สอนเป็นเพียงผู้ช่วย ผู้เรียนจะต้องตระหนักตั้งแต่เริ่มต้นว่า มีจุดประสงค์อย่างไรและต้องทำอะไรบ้าง ต้องรู้ว่าจะต้องรับผิดชอบอะไร ประเมินความก้าวหน้าการเรียนอย่างไร ต้องติดต่อกับผู้สอนทางไกลตลอดเวลาเพื่อจะได้รู้ว่าผลการสอนจะเน้นอย่างไร การเรียน เป็นงานที่หนักยิ่งของผู้เรียนและต้องเตรียมความพร้อมเพียงใด การเตรียมตัวที่ดีความสำเร็จย่อมมีมาก ก่อนตัดสินใจที่จะเรียนจะพิจารณาว่ามีอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับคุณ เช่น สภาพแวดล้อมส่วนตัวเป็นอย่างไร มีครอบครัว หรือยัง มีลูกเล็กๆ หรือเปล่า ทำงานเต็มเวลาหรือบางเวลาจะเรียนเต็มเวลาหรือบางเวลา ที่บ้านมีคนอยู่มากหรือไม่ จะต้อง ทำงานที่โต๊ะอาหาร โดยมีสมาชิกในครอบครัวหลายคน แต่ทำอย่างไรเราจึงจะมีสมาธิกับการเรียนได้ ที่เรียน ถ้าบ้านของคุณแออัดจนหาที่เงียบๆ ไม่ได้ ห้องสมุดหลังศูนย์การเรียนอาจเป็นทางเลือกที่จะให้คุณได้ใช้ศึกษา เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกอื่นๆ อาจเป็นสิ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้คุณในเรื่องของการช่วยเรียน ได้ หรือคุณอาจศึกษาจากผู้เรียนอื่นๆ ซึ่งการพูดคุยกับผู้เรียนคนอื่นก็นับว่าเป็นสิ่งที่ดีในเรื่องของการเรียนรู้ได้ เปลี่ยนนิสัย ชีวิตผู้ใหญ่ในสังคมเป็นชีวิตที่มีภาระมาก จึงเป็นเรื่องยากที่จะหาเวลาทำทุกอย่างได้ การจะจัดเวลาทำ การบ้าน การดูแลบ้าน พาลูกไปโรงเรียน ทำกิจกรรม ดูโทรทัศน์ หรือทำงานประจำอื่นๆ เป็นเรื่องยากที่จะเพิ่มเรื่องการเรียนเข้า ไป ทำให้บางครั้งต้องตัดกิจกรรมบางอย่างออกไป คิดดูว่าจะสามารถตัดอะไรได้บ้าง การวางแผนเหล่านี้เป็นเรื่องเฉพาะตัวและ ผู้เรียนเท่านั้นที่จะพิจารณาว่าจะทำอย่างไร ถ้าต้องเรียน อาจเป็นเรื่องยากที่จะทำการบ้าน แทนที่จะทำอย่างอื่นที่สนุกกว่า อย่า คิดเช่นนั้น การตัดสินใจเรียนอาจเป็นการตัดสินใจที่ดีที่สุดในชีวิต อาจจะได้พบสิ่งที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อน การเรียนอาจเปลี่ยน แปลงชีวิต หรือสามารถให้โอกาสชีวิตใหม่ๆ ก็เป็นได้ วิธีการ เมื่อผู้เรียนสมัครเรียนทางไกลจะได้พบผู้สอน/ อาจารย์ที่ปรึกษา จากสถาบันและได้รับเอกสารต่างๆ เกี่ยวกับ หลักสูตร และขอบเขตของหลักสูตร ก่อนอื่นควรดูเอกสารต่างๆ และลองจัดเวลาดูว่าจะต้องใช้เวลาเรียนอาทิตย์ละกี่ชั่วโมง ถ้า เห็นว่าเวลาว่างน้อยแสดงว่าต้องใช้เวลามากขึ้น ในแต่ละวันการเรียนต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ เป็นเรื่องน่าเบื่อ อย่างน้อยต้องหา เวลาพักหรือได้เดินเล่นบ้าง การศึกษาเอกสารก่อนจะทำให้คำนวณได้อย่างคร่าวๆ ว่ามีหลักสูตรอะไรบ้างจากสื่อ การเรียนไปแต่ ละหน่วยจะค่อยๆ เริ่มจากง่ายไปหายากบ้าง ผู้เรียนต้องศึกษาให้เข้าใจไปทีละน้อยตามลำดับ ความเครียด ความเครียดเป็นผลร้ายต่อการเรียน วิธีหลีกเลี่ยงความเครียดที่ดีที่สุด คือ วางแผนและฝึกจิตใจ ปฏิบัติ ตามแผนที่วางไว้และทำงานทุกวัน หลีกเลี่ยงการทำงานที่คั่งค้าง ส่งงานตามเวลา แต่ถ้าทำไม่ได้ คุยหรืออธิบายสถานการณ์ให้ ผู้สอนเสริมหรืออาจารย์ที่ปรึกษาทราบ แทนที่จะรู้สึกเครียดหรือหงุดหงิด ติดต่อกับเพื่อผู้เรียนคนอื่นบ้างถ้ามี เพราะการที่มี เพื่อนที่อยู่สถานการณ์เดียวกัน จะเป็นที่ปรึกษาที่ดีซึ่งกันและกันได้ อธิบายให้ครอบครัวและเพื่อนเข้าใจว่าเหตุใดจึงไม่ค่อยมี เวลาให้ เริ่มทำความเข้าใจกับเอกสารอย่างกว้าง ค่อยๆ อ่านทีละหน้า ดูภาพและอ่านคำบรรยาย เขียนหัวข้อและประเด็นสำคัญๆ บันทึกขีดเส้นใต้ข้อความเรื่องที่สำคัญ จับประเด็นสำคัญและย่อความด้วยคำพูดตัวเอง ถามคำถามเพื่อตรวจสอบว่าตนเองเข้าใจ เรื่องที่อ่านมากน้อยแค่ไหน ศึกษากับเพื่อนที่มี ตั้งคำถามช่วยกันคิด ทบทวนเอกสารก่อนที่จะบันทึกรายละเอียดและหัวข้อ การ จะพยายามอ่านและเขียนทุกๆ เรื่องเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ จึงต้องรู้จักจับประเด็นที่สำคัญ เพื่อประหยัดเวลาและได้ความรู้ พยายามหาวิธีของตนเอง การเรียนไม่จำกัดที่ต้องอยู่ที่โต๊ะเสมอไป หรืออาจเขียนโน๊ตย่อ ไม่จำเป็นต้องบันทึกเสมอไป อาจบันทึกเทปไว้ฟังเวลาขับรถ ทำกับข้าวหลังล้างชาม เขียนคำ หรือ วลียากๆ ไว้แล้วไปติดในที่เด่นๆ รอบบ้าน เพื่อจะได้เน้นตลอดเวลาและทำให้จำได้ ก่อนนอนอ่านตำราเล็กน้อย ถึงจะอ่านได้น้อย กว่าแต่อาจนับว่าได้อะไรบ้าง ตอบคำถามในตำราแต่ละตอน แล้วลองตั้งคำถามเองบ้าง เมื่อรู้สึกล้าลองให้รางวัลตัวเองบ้าง การ ส่งการบ้านเป็นช่วงๆ ต้องมีการวางแผนล่วงหน้าและส่งให้ตามกำหนด หากติดขัดในการเรียน หากมีปัญหาก็ให้ทิ้งงานนั้นไว้ก่อนแล้วทำงานอื่นแทนหลังจากนั้น 2-3 วันค่อยกลับมาดูใหม่ บ่อยครั้งจะแก้ปัญหาได้ แต่ถ้ายังไม่ได้ลองติดต่อกับผู้เรียน อาจารย์ที่ปรึกษา เมื่อแก้ปัญหาได้แล้วควรทบทวนอีกครั้งเพื่อให้แน่ ใจว่าเข้าใจจริงๆ ไม่ใช่เพียงแต่ยอมรับคำตอบของคนอื่นเพื่อผละไป ที่สำคัญติดต่อกับผู้สอนตลอดเวลา ไม่ใช่รอจนมีปัญหาเกิดขึ้น ถึงแม้ทุกอย่างจะเป็นไปอย่างราบรื่น เพราะการพูดคุยจะทำให้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ หรือทำให้รู้สึกดีเมื่อมีคนให้กำลังใจ
การศึกษาทางไกล (Distance Learning) การศึกษาทางไกลเป็นการเปิดโอกาสทางการศึกษาให้แก่ผู้ใฝ่รู้และใฝ่เรียนที่ไม่สามารถสละเวลาไปรับการศึกษาจากระบบการศึกษาปกติได้เนื่องจากภาระทางหน้าที่การงานหรือทางครอบครัว และเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ที่ต้องการเพิ่มพูนหรือปรับปรุงความรู้ที่มีอยู่ให้ทันสมัยเพื่อประโยชน์ใน การทำงาน
ความหมายของการศึกษาทางไกล (Distance Education) การศึกษาทางไกล (Distance Education) หมายถึง ระบบการศึกษาที่ผู้เรียนและผู้สอนอยู่ ไกลกัน แต่สามารถทำให้เกิดการเรียนรู้ได้โดยอาศัยสื่อการสอนในลักษณะของสื่อประสม กล่าวคือ การใช้สื่อต่างๆ ร่วมกัน เช่น ตำราเรียน เทปเสียง แผนภูมิ คอมพิวเตอร์ หรือโดยการใช้อุปกรณ์ทาง โทรคมนาคม และสื่อมวลชนประเภทวิทยุและโทรทัศน์เข้ามาช่วยในการแพร่กระจาย การศึกษาไปยังผู้ที่ปรารถนาจะเรียนรู้ได้อย่างกว้างขวางทั่วทุกท้องถิ่น การศึกษานี้มีทั้งในระดับต้นจนถึงระดับสูงขั้นปริญญา การศึกษาทางไกลเป็นการศึกษาวิธีหนึ่งในการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียน ที่ อาศัยสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเลคทรอนิกส์ และสื่อบุคคล รวมทั้งระบบโทรคมนาคมในรูปแบบต่างๆ เป็น หลักการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ด้วยตนเองจากสื่อเหล่านั้น และอาจมีการสอนเสริม ควบคู่ไปด้วย เพื่อให้ผู้เรียนซักถามปัญหาจากผู้สอนหรือผู้สอนเสริม โดยการศึกษานี้อาจจะอยู่ใน รูปแบบของการศึกษาอิสระ การศึกษารายบุคคล หรือรูปแบบของมหาวิทยาลัยเปิดก็ได้ ตัวอย่างการ ศึกษาทางไกลในประเทศไทย ได้แก่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ซึ่งในการจัดการเรียนการ สอนของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ใช้ สื่อสิ่งพิมพ์ เป็นหลัก โดยมี สื่อเสริม คือรายการวิทยุกระจายเสียง และรายการโทรทัศน์บางวิชาอาจ มีเทปคาสเซ็ท วีดิโอเทป หรือสื่อพิเศษอย่างอื่นร่วมด้วย นักศึกษาจะเรียนด้วยตนเอง โดยอาศัยสื่อ เหล่านี้เป็นหลัก แต่มหาวิทยาลัยก็จัดการสอนเสริมเป็นครั้งคราวซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้สอนและผู้เรียนได้พบกันเพื่อซักถามข้อสงสัยหรือขอคำอธิบายเพิ่มเติม
< การจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดในวงการคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงชีวิตประจำ วันของชาวโลกคือ เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ซึ่งเกิดจากการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ต่างๆ ใน โลกเข้าด้วยกัน ภายใต้กฎเกณฑ์การต่อเชื่อม (Protocol) อย่างเดียวกันที่เรียกว่า TCP/IP อินเทอร์ เน็ตเป็นปรากฏการณ์ของคำว่า "โลกาภิวัฒน์" (Globalization) ที่เป็นรูปธรรม โลกทั้งโลกสามารถ ติดต่อสื่อสารกันได้ ไม่ว่าจะเพื่อวัตถุประสงค์ใด ในทางการศึกษา อินเทอร์เน็ตเป็นการเปิดกว้างของ การให้โอกาสในการศึกษาหาความรู้อย่างไม่เคยมีมาก่อน และเป็นการเปิดโอกาสที่ให้เกิดความเท่า เทียมสำหรับทุกคน ที่สามารถจะเข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ ลองนึกถึงความจริงที่ว่าเด็กไทยที่ อยู่บนดอยในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ก็สามารถหาความรู้จากอินเทอร์เน็ตได้เท่าเทียมกันกับเด็กอเมริกัน ที่นิวยอร์ค และเท่ากับเด็กญี่ปุ่นที่โตเกียว อินเทอร์เน็ตเป็น แหล่งสะสมความรู้หรือที่บางคนเรียกว่า "ขุมทรัพย์ความรู้"เพราะในบรรดาคอมพิวเตอร์ที่ต่อ เชื่อมอยู่กับอินเทอร์เน็ตนั้น ต่างก็มีข้อมูลสะสมไว้มากมาย และวิธีให้บริการบนอินเทอร์เน็ตก็ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นได้อย่างง่ายดาย ถ้าเจ้าของข้อมูลยอมเปิดให้เป็นข้อมูลสาธารณะ แต่สิ่งที่ต้องระวังคือ ข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตจำนวนมากเป็นข้อมูลที่ไม่มีการกลั่นกรอง ไม่มีการ รับรองความถูกต้อง ผู้ที่ต้องการใช้ข้อมูลจะต้องใช้วิจารณญาณในการเลือกแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้และนำมาใช้เฉพาะข้อมูลที่เป็นประโยชน์เท่านั้น อาจกล่าวได้ว่าการศึกษาในยุคอินเทอร์เน็ตนั้นคือ การเรียนรู้ที่จะแยกแยะและกลั่นกรองข้อมูลเพื่อนำข้อมูลมาเรียบเรียงและจัดระบบขึ้นเป็นความรู้ ขณะนี้มีงานวิจัยซึ่งพยายามสร้างกระบวนการอัตโนมัติ (โดยใช้คอมพิวเตอร์) ของการค้นหาข้อมูล (จากเครือข่ายอินเทอร์เน็ต) และนำมาเรียบเรียงขึ้นเป็นความรู้ตามกฎเกณฑ์ที่ผู้ใช้สามารถระบุได้ ศาสตร์ใหม่แขนงนี้มีชื่อเรียกว่า วิศวกรรมความรู้ (Knowledge Engineering) ซึ่งมีการบริการ World Wide Web (WWW.) เป็นวิธีการให้บริการข้อมูลแบบหนึ่งบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นวิธี การที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อความสะดวกต่อผู้ใช้ โดยอาศัยสมรรถนะที่สูงขึ้นมากของคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ WWW . ใช้กฎเกณฑ์การรับส่งข้อมูลแบบ Hypertext Transfer Protocol (http) ซึ่งมีจุดเด่นที่ สำคัญอยู่ 2 ประการคือ 1. สามารถทำการเชื่อมโยงและเรียกข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้เข้ามาปรากฏได้ โดยวิธีการที่เรีย กว่า Hyperlink 2. สามารถจัดการข้อมูลได้หลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวเสียง และวีดิทีศน์ เป็นต้น
การศึกษาทางไกล (Distance Learning) ความหมาย ได้มีผู้ให้คำนิยามของการเรียนทางไกล (Distance learning) หรือการศึกษาทางไกล (distance education) ไว้หลายท่านด้วยกันดังนี้ เบิร์ก และฟรีวิน (E.R.Burge and CC Frewin ,1985 : 4515) ได้ให้ความหมายของการ เรียนการสอนทางไกลว่า หมายถึงกิจกรรมการเรียนที่สถาบันการศึกษาได้จัดทำเพื่อให้ผู้เรียนซึ่งไม่ได้เลือกเข้าเรียนหรือไม่สามารถจะเข้าเรียนในชั้นเรียนที่มีการสอนตามปกติได้กิจกรรมการเรียนที่จัด ให้มีนี้จะมีการผสมผสานวิธีการที่สัมพันธ์กับทรัพยากร การกำหนดให้มีระบบการจัดส่งสื่อการสอน และมีการวางแผนการดำเนินการ รูปแบบของทรัพยากรประกอบด้วย เอกสาร สิ่งพิมพ์ โสตทัศนูปกรณ์ สื่อคอมพิวเตอร์ ซึ่งผู้เรียนอาจเลือกใช้สื่อเฉพาะตนหรือเฉพาะกลุ่มได้ ส่วนระบบการจัด ส่งสื่อนั้นก็มีการใช้เทคโนโลยีนานาชนิด สำหรับระบบบริหารก็มีการจัดตั้งสถาบันการศึกษาทางไกล ขึ้น เพื่อรับผิดชอบจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โฮล์มเบิร์ก (Borje Holmber, 1989: 127 อ้างถึงใน ทิพย์เกสร บุญอำไพ. 2540 : 38) ได้ ให้ความหมายของการศึกษาทางไกล ว่าหมายถึงการศึกษาที่ผู้เรียนและผู้สอนไม่ได้มาเรียนหรือ สอนกันซึ่ง ๆ หน้า แต่เป็นการจัดโดยใช้ระบบการสื่อสารแบบสองทาง ถึงแม้ว่าผู้เรียนและผู้สอนจะไม่อยู่ในห้องเดียวกันก็ตาม การเรียนการสอนทางไกลเป็นวิธีการสอนอันเนื่องมาจากการแยกอยู่ห่างกันของผู้เรียนและผู้สอน การปฏิสัมพันธ์ดำเนินการผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ คอมพิวเตอร์ และเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ
ไกรมส์ (Grimes) ได้ให้นิยามการศึกษาทางไกลว่า คือ "แนวทางทุก ๆ แนวทางของการเรียนรู้จากหลักสูตรการเรียนการสอนปกติที่เกิดขึ้น แต่ในกระบวนการเรียนรู้นี้ครูผู้สอนและนักเรียนอยู่คนละสถานที่กัน " นอกจากนี้ ไกรมส์ ยังได้อธิบายถึงเรื่อง การใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน ผ่านสื่อทางไกล โดยเขาได้ให้นิยามที่กระชัย เข้าใจง่ายสำหรับการศึกษาทางไกลสมัยใหม่ไว้ว่าคือ "การนำบทเรียนไปสู่นักเรียนโดยใช้เทคโนโลยีมากกว่าที่จะใช้เทคโนโลยีนำนักเรียนเข้าสู่บทเรียน" และไกรมส์ยังได้ถอดความของคีแกน (Keehan) ซี่งได้กำหนดลักษณะเฉพาะของการเรียนการสอนทางไกลไว้ ดังนี้คือ
1. เป็นกระบวนการเรียนการสอนที่ครูและนักเรียนอยู่ต่างถานที่กัน 2. สถาบันการศึกษาเป็นผู้กำหนดขอบเขตและวิธีการในการบริหารจัดการ (รวมทั้งการประเมินผลการเรียนของนักเรียน) 3. ใช้กระบวนการทางสื่อในการนำเสนอเนื้อหาหลักสูตร และเป็นตัวประสานระหว่างครูกับนักเรียน 4. สามารถติดต่อกันได้ทั้งระหว่างครูกับนักเรียนและหรือสถาบันการศึกษากับนักเรียน
วิจิตร ศรีสอ้าน (2529 : 5 - 7) ได้ให้ความหมายของการเรียนการสอนทางไกลว่าหมายถึง ระบบการเรียนการสอนที่ไม่มีชั้นเรียน แต่อาศัยสื่อประสมอันได้แก่ สื่อทางไปรษณีย์ วิทยุกระจาย เสียง วิทยุโทรทัศน์ และการสอนเสริม รวมทั้งศูนย์บริการทางการศึกษา โดยมุ่งให้ผู้เรียนเรียนได้ ด้วยตนเองอยู่กับบ้าน ไม่ต้องมาเข้าชั้นเรียนตามปกติ การเรียนการสอนทางไกลเป็นการสอนที่ผู้ เรียนและผู้สอนจะอยู่ไกลกัน แต่สามารถมีกิจกรรมการเรียนการสอนร่วมกันได้ โดยอาศัยสื่อประสม เป็นสื่อการสอน โดยผู้เรียนผู้สอนมีโอกาสพบหน้ากันอยู่บ้าง ณ ศูนย์บริการ การศึกษาเท่าที่จำเป็น การเรียนรู้ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากสื่อประสมที่ผู้เรียนใช้เรียนด้วยตนเองในเวลาและสถานที่สะดวก
สนอง ฉินนานนท์ (2537 : 17 อ้างถึงใน ทิพย์เกสร บุญอำไพ. 2540 : 7) ได้ให้ความหมาย ของการศึกษาทางไกลว่าเป็นกิจกรรมการเรียนสำหรับผู้ที่ไม่สามารถเข้าเรียนในชั้นเรียนตามปกติได้ ซึ่งอาจจะเป็นเพราะเหตุผลทางภูมิศาสตร์ หรือเหตุผลทางเศรษฐกิจก็ตาม การเรียนการสอนลักษณะ นี้ผู้สอนกับผู้เรียนแยกห่างกัน แต่ก็มีความสัมพันธ์โดยผ่านสื่อการเรียนการสอน การเรียนโดยใช้สื่อการเรียนทางไกลนั้น ใช้สื่อในลักษณะสื่อประสม (Multimedia) ได้แก่ สื่อเอกสาร สื่อโสตทัศน์ และ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่นรายการวิทยุ โทรทัศน์ เทปเสียง วีดิทัศน์ และคอมพิวเตอร์
วิชัย วงศ์ใหญ่ ( 2527 อ้างถึงในสารานุกรมศึกษาศาสตร์. 2539: 658 ) การสนทางไกล (distance teaching) หมายถึง ระบบของการจัดการศึกษาวิธีหนึ่ง ซึ่งผู้สอนและผู้เรียนไม่ต้องมาทำ กิจกรรมในห้องเรียน กระบวนการเรียนการสอนจะยืดหยุ่นในเรื่องเวลา สถานที่ โดยคำนึงถึงความ สะดวกและความพร้อมของผู้เรียนเป็นหลัก รูปแบบของการเรียนจะใช้สื่อการเรียนประเภทต่าง ๆ เช่น สิ่งพิมพ์ สื่อที่ติดต่อทางไปรษณีย์ สื่อทางวิทยุ สื่อทางโทรทัศน์และสื่อโสตทัศน์อุปกรณ์ประเภทอื่น รวมทั้งการพบกลุ่มโดยมีวิทยากรเป็นผู้ให้ความรู้หรือการสินเสริม เป็นต้น โดยสรุป แล้วการศึกษาทางไกล หมายถึง กิจกรรมการเรียนการสอนที่จัดขึ้นโดยที่ผู้เรียนไม่ จำเป็นต้องเข้าชั้นเรียนปกติ เป็นการเรียนการสอนแบบไม่มีชั้นเรียน แต่อาศัยสื่อต่าง ๆ ที่เรียกว่าสื่อ ประสม ได้แก่ เอกสาร สื่อโสตทัศน์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ รวมไปถึงสื่อบุคคลช่วยในการจัดการ เรียนการสอน
หลักสำคัญของการศึกษาทางไกล จากความหมายและปรัชญาของการเรียนการสอนทางไกลดังได้กล่าวมาแล้วนั้น จะเห็นได้ ว่ามีลักษณะเฉพาะสำคัญที่แตกต่างไปจากการศึกษาในระบบอื่นหลายประการ ดังที่ วิจิตร ศรีสอ้าน (วิจิตร ศรีสอ้าน และคณะ 2534 : 7 - 8) ได้จำแนกลักษณะสำคัญของการศึกษาทางไกลไว้ดังนี้
1. ผู้เรียนและผู้สอนอยู่ห่างจากกัน การเรียนการสอนทางไกล เป็นรูปแบบการสอนที่ผู้สอน และผู้เรียนอยู่ห่างไกลกัน มีโอกาสพบปะหรือได้รับความรู้จากผู้สอนโดยตรงต่อหน้าน้อยกว่าการ ศึกษาตามปกติ การติดต่อระหว่างผู้เรียนและผู้สอนนอกจากจะกระทำโดยผ่านสื่อต่าง ๆ แล้ว การ ติดต่อสื่อสารโดยตรงจะเป็นไปในรูปของการเขียนจดหมายโต้ตอบกัน มากกว่าการพบกันเฉพาะหน้า
2. เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียน ในระบบการเรียนการสอนทางไกลผู้เรียนจะมีอิสระใน การเลือก
การศึกษาทางไกล
การศึกษาทางไกลเป็นความพยายามของนักการศึกษาในการที่จะจัดการศึกษาได้แก่ผู้ที่ไม่สามารถจะเข้ารับการศึกษาตามปกติในชั้นเรียนได้ นอกจากนี้แล้วการที่วิทยาการได้ก้าวหน้าไปอย่างมากทำให้ผู้ที่อยู่นอกระบบการศึกษาจำเป็นต้องพัฒนาตนเองเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน ดังนั้นการจัดการศึกษาทางไกลจึงมีบทบาทต่อการศึกษาของประเทศเป็นอย่างสูง1 ความหมายของการศึกษาทางไกล โฮน์นิชและคณะ (1993:282) ได้ให้ความหมายของการศึกษาทางไกลว่า "เป็นการศึกษาที่มีลักษณะที่ผู้เรียนอยู่ห่างไกลจากผู้สอนโปรแกรมการเรียนได้รับการจัดวางเป็นระบบ มีการใช้สื่อการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและการสื่อความหมายเป็นไปแบบสองทาง" บอร์ก โฮล์มเบิร์ก (1989:127) กล่าวว่า "หมายถึง การศึกษาที่ผู้เรียนและผู้สอนมิได้มาเรียนหรือสอนกันซึ่ง ๆ หน้า แต่เป็นการจัดโดยระบบสื่อสารแบบสองทาง ถึงแม้ผู้เรียนและผู้สอนจะไม่อยู่ในห้องเดียวกันก็ตาม" วิจิตร ศรีสอ้าน (2529:5-7) กล่าวว่า "หมายถึงระบบการเรียนการสอนที่ไม่มีชั้นเรียน แต่อาศัยสื่อประสมอันได้แก่สื่อทางไปรษณีย์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และการสอนเสริม รวมทั้งศูนย์บริการการศึกษาเป็นหลัก โดยมุ่งให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองอยู่กับบ้านไม่ต้องมาเข้าชั้นเรียนตามปกติ"2 ลักษณะสำคัญของการศึกษาทางไกล ระบบการศึกษาทางไกล มีลักษณะของการจัดการศึกษาที่ต่างไปจากระบบการเรียนการสอนโดยปกติ ซึ่งอาจจะสรุปลักษณะที่สำคัญของระบบการศึกษาทางไกลได้ดังนี้ 1) ผู้เรียนผู้สอนไม่อยู่ประจันหน้ากัน เนื่องจากผู้เรียนไม่สามารถมาเข้าชั้นเรียน โดยปกติได้ดังนั้น ผู้เรียนจะเรียนด้วยตนเองที่บ้าน โดยอาจมาพบผู้สอนในบางเวลา 2) เน้นผู้เรียนเป็นจุดศูนย์กลางของการเรียน ผู้เรียนเป็นผู้เลือกวิชาและกำหนดเวลาเรียนและกิจกรรมการเรียนของตนเอง 3) สื่อการสอนเป็นสื่อหลักในกระบวนการเรียนการสอน ผู้สอนจะเป็นสื่อหลัก ในการศึกษาทางไกลสื่อหลักจะเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุโทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียง ฯลฯ เป็นสื่อหลัก3 สื่อการสอนกับการศึกษาทางไกล เนื่องจากผู้เรียนต้องศึกษาด้วยตนเองเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นสื่อการสอนจึงมีความสำคัญยิ่งสำหรับการศึกษาทางไกล ซึ่งสื่อการสอนที่ใช้อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1)สื่อสิ่งพิมพ์ เป็นสื่อประเภทสิ่งพิมพ์ได้แก่ เอกสารตำรา แบบฝึกปฏิบัติ ผู้เรียนจะอาศัยสื่อสิ่งพิมพ์เป็นสื่อหลักเนื่องจากราคาถูก เก็บได้นานและไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ประกอบ 2)สื่อโสตทัศนูปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ นับได้ว่าเป็นสื่อรองจากสื่อสิ่งพิมพ์ที่จะช่วยในการเสริมความรู้ในกระบวนการเรียนของผู้เรียน โดยอาจจะเป็นการสอนทางโทรทัศน์ เทปเสียงบรรยาย เทปวีดิทัศน์ รายการวิทยุกระจายเสียง 3)สื่ออิเล็กทรอนิกส์และระบบโทรคมนาคม เนื่องจากการพัฒนาการของอิเล็กทรอนิกส์และระบบโทรคมนาคมเป็นไปอย่างรวดเร็ว จึงมีการนำเอามาใช้ในการจัดการศึกษาทางไกล โดยใช้ระบบดาวเทียมและท่อใยแก้วนำแสงในการส่งข่าวสารข้อมูล มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่ง
4 การศึกษาในระบบและการศึกษานอกระบบกับการศึกษาทางไกล1) การศึกษาในระบบ การศึกษาทางไกลเข้ามามีบทบาทสำคัญยิ่งในการจัด การศึกษาทั่วการศึกษา ในระบบและการศึกษานอกระบบ มีหลายหน่วยงานที่จัดการศึกษาทางไกล ทั้งในระดับต่ำกว่าอุดมศึกษาและระดับอุดมศึกษา การศึกษาในระบบโดยทั่วไปก็คือการที่ผู้เรียนมาเรียนในชั้นเรียนปกติมีผู้สอนอยู่ในชั้นเรียน สำหรับการศึกษาทางไกลมีลักษณะที่ผู้เรียนและผู้สอนไม่ได้อยู่ประจันหน้ากัน ผู้สอนจะอยู่ห่างไกลจากชั้นเรียนออกไป การศึกษาทางไกลสำหรับการศึกษาในระบบระดับต่ำกว่าอุดมศึกษา ซึ่งดำเนินการโดยกรมสามัญศึกษา และในระดับอุดมศึกษาได้แก่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร สถาบันราชภัฏสวนดุสิต และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เป็นต้น 2) การศึกษานอกระบบ การศึกษานอกระบบจะเป็นลักษณะของการศึกษาที่ไม่มีเวลาเรียนแน่นอนตายตัว ไม่มีการกำหนดอายุของผู้เรียน ผู้เรียนจะมาเข้าชั้นเรียนหรือไม่ก็ได้ การเรียนการสอนอาจจะมาพบกัน ณ ศูนย์บริการวิชาการหรืออาจจะเรียนผ่านรายการโทรทัศน์ที่บ้าน จะมีการสอนในระดับต่ำกว่าอุดมศึกษา ซึ่งดำเนินการโดยกรมการศึกษานอกโรงเรียน ส่วนในระดับอุดมศึกษาก็ได้แก่ สถาบันราชภัฏสวนดุสิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง และมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นต้น5 ข้อดีของการศึกษาทางไกล ดังกล่าวแล้วว่ามีการจัดการศึกษาทางไกลสำหรับการศึกษาในระบบและการศึกษานอกระบบ ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า การศึกษาทางไกลมีข้อดีหรือมีประโยชน์ต่อการศึกษาต่าง ๆ ในแง่มุม ดังนี้ 1) ผู้เรียนได้เรียนกับผู้สอนที่มีความเชี่ยวชาญในเนื้อหานั้น ๆ 2) สามารถบันทึกคำบรรยายหรือการสอนส่งผ่านคอมพิวเตอร์ หรือโทรทัศน์ไปยังผู้เรียนได้โดยสะดวก 3) ผู้เรียนที่อยู่ในการศึกษานอกระบบ ไม่จำเป็นต้องเดินทางมายังสถานศึกษาเหมือนปกติ และยังสามารถทำงานในสถานประกอบของตนเองได้ 4) ตอบสนองความต้องการในการแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาคน และพัฒนางานในวิชาชีพของบุคคลได้ โดยไม่ต้องเข้ารับการศึกษาในสถานศึกษาในระบบปกติ นอกจากชุดการสอน การสอนแบบโปรแกรม และการศึกษาทางไกลแล้ว ยังมีนวัตกรรม อีกมากมายที่นำมาใช้ในการศึกษา อาทิเช่น การสอนเป็นคณะ (Team Teaching) การสอนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-graded school) การสอนแบบจุลภาค (Micro teaching) คอมพิวเตอร์ทางการศึกษา (Computer in Education) ศูนย์การเรียน (Learning Center) และห้องเรียนเสมือนจริง (Virtual Classroom) เป็นต้น นวัตกรรมที่กล่าวถึงมีการนำมาทดลองใช้ในการจัดการศึกษา มีการวิจัยแล้วว่าทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพสูงขึ้นจริง แต่งเนื่องจากมีข้อจำกัดในด้านความรู้ในการนำไปใช้ตลอดจนงบประมาณจึงจะทำให้นวัตกรรมดังกล่าวขาดการพัฒนาและหายไปในที่สุด
1. ความหมายของ Computer
ปัจจุบันจะพบว่าคอมพิวเตอร์มีหลากหลายลักษณะ หลากหลายรูปแบบ ทั้งคอมพิวเตอร์ขนาดพกพา คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ คอมพิวเตอร์แบบกระเป๋าหิ้ว คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์เมนเฟรม หรือซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ แต่ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดก็ตาม คอมพิวเตอร์ก็มีความหมายที่ชัดเจนในตัวของมันเอง คือ เครื่องคำนวณ ในรูปของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถรับข้อมูล และคำสั่ง ผ่านอุปกรณ์รับข้อมูล แล้วนำข้อมูลและคำสั่งนั้น ไปประมวลผลด้วยหน่วยประมวลผลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ และแสดงผลผ่านอุปกรณ์แสดงผล ตลอดจนสามารถบันทึกรายการต่างๆ ไว้เพื่อใช้งานได้ด้วยอุปกรณ์บันทึกข้อมูลสำรอง
คอมพิวเตอร์จึงสามารถมีรูปร่างอย่างไรก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นรูปร่างอย่างที่เราคุ้นเคย หรือพบเห็น ตัวอย่างเช่น เครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติ หรือ ATM ก็ถือว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง
www.thaigoodview.com
2.ความหมายของ ICT
ICT-ไอซีที" นั้นหรือก็คือตัวย่อของ Information and Communication Technology ขยายความเป็นไทยได้ว่า "เทคโนโลยีด้านข้อมูลข่าวสารและการติดต่อสื่อสาร" ซึ่งมีความจำเป็นต่อชีวิตประจำวันทุกวันนี้อย่างยิ่ง จึงตั้งหน่วยงานขึ้นรองรับและบริการ เกิดเป็นกระทรวงใหม่ชื่อ "กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร-Ministry of Information and Communication Technology" หรือกระทรวงไอซีที-ICTอธิบายขอบข่ายงานแยกตามตัวอักษรได้ว่า "I" Information -สารสนเทศ นำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้มาผ่านกระบวนการเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีประโยชน์ต่อการตัดสินใจ มีภาระหน้าที่ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของข่าวสารข้อมูลบนเครือข่าย อยู่ในศีลธรรมอันดี และไม่กระทบต่อความมั่นคงของประเทศจัดตั้งกองทุนเพื่อการส่งเสริมธุรกิจ ICT เป็นการเฉพาะ โดยให้สิทธิ์พิเศษในด้านการจัดหาเงินทุนหรือการร่วมลงทุน เป็นแหล่งกลางของข้อมูลออนไลน์ จัดให้มีองค์กรที่ช่วยในการแลกเปลี่ยนและวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารของธุรกิจ ICT สนับสนุนส่งเสริมให้มีการวิจัยพัฒนาเกี่ยวกับการป้องกันเครือข่ายสารสนเทศในสถาบันการศึกษา และเผยแพร่ข้อมูลให้กับกลุ่มธุรกิจ"C" Communications-การสื่อสาร ขอบข่ายงานคือจัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารทั้งในและระหว่างประเทศที่เพียงพอในต้นทุนที่แข่งขันได้กับประเทศในกลุ่มผู้นำในภูมิภาค มีเป้าหมายให้ประชากรมากกว่าร้อยละ 70 สามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ เพิ่มห้องสมุดไอที เพิ่มอัตราความสามารถในการใช้ ICT ของประชากรให้ถึงร้อยละ 60 เนื่องจากเป็นพื้นฐานต่อทักษะของประชาชนในสังคมเศรษฐกิจ องค์ความรู้กำหนดให้อัตราค่าบริการในการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศขั้นต้นเหมาะสมกับประชาชนส่วนใหญ่ ให้มีการสร้างเครือข่ายภายในระหว่างหน่วยงานของรัฐ โดยมีโครงสร้างการเชื่อมต่อตามโครงสร้างระบบราชการ"T" Technology-เทคโนโลยี รวมคำ 2 คำคือ Technique หมายถึงวิธีการที่มีการพัฒนาและสามารถนำไปใช้ได้ และ Logic หมายถึงความมีเหตุผลที่เป็นที่ยอมรับ รวมกันหมายถึงวิธีการปฏิบัติที่มีการจัดลำดับอย่างมีรูปแบบและขั้นตอน เพื่อทำให้เกิดประสิทธิภาพในเรื่องความเร็วลักษณะงานคือสร้างกรอบกฎหมายที่เอื้อต่อการลงทุนสร้างนวัตกรรมใหม่และการผลิตภายในประเทศ สร้างความตระหนักถึงความสำคัญของ ICT ลดความเสี่ยงในการป้องกันความปลอดภัยของข้อมูล สนับสนุนบทบาทของภาคเอกชนโดยเฉพาะ SME ในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการรายย่อยเกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิตใหม่ๆ ร่วมมือกับประเทศคู่ค้า เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกันได้ และมีความปลอดภัยในระบบ ส่งเสริมให้มีการผลิตฮาร์ดแวร์ของอุปกรณ์โทรคมนาคมที่ได้มาตรฐาน
www.benjama.ac.th

3. ความหมายของ Innovation
Innovation หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
“นวัตกรรม” (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ ”การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม” แนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฎิบัติให้เกิดผลได้จริงอีกด้วย (พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ , Xaap.com)
คำว่า “นวัตกรรม” เป็นคำที่ค่อนข้างจะใหม่ในวงการศึกษาของไทย คำนี้ เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation มาจากคำกริยาว่า innovate แปลว่า ทำใหม่ เปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ ในภาษาไทยเดิมใช้คำว่า “นวกรรม” ต่อมาพบว่าคำนี้มีความหมายคลาดเคลื่อน จึงเปลี่ยนมาใช้คำว่า นวัตกรรม (อ่านว่า นะ วัด ตะ กำ) หมายถึงการนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากวิธีการที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น ดังนั้นไม่ว่าวงการหรือกิจการใด ๆ ก็ตาม เมื่อมีการนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมก็เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรม ของวงการนั้น ๆ เช่นในวงการศึกษานำเอามาใช้ ก็เรียกว่า “นวัตกรรมการศึกษา” (Educational Innovation) สำหรับผู้ที่กระทำ หรือนำความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ มาใช้นี้ เรียกว่าเป็น “นวัตกร” (Innovator) (boonpan edt01.htm)
www.matichon.co.th
4. ความหมายของ Education
ในแง่การสื่อสาร Education (การศึกษาอิเล็กทรอนิกส์) คือ การส่งข้อมูลสื่อการศึกษา และการบริการ เช่น Course ware , ห้องสมุดอิเล็คโทรนิค และ การชำระลงทะเบียนเรียน, ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น สายโทรศัพท์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
ในแง่ของระบบและกระบวนการ Education คือ เทคโนโลยีที่ช่วยให้กระบวนการจัดระบบการศึกษา (Education System) เป็นการทำงานตามขั้นตอน (Workflow) เป็นไปอย่างอัตโนมัติจนเสร็จสิ้นบนระบบเครือข่าย
ในแง่การให้บริการ Education คือ เครื่องมือที่ช่วย สถาบันการศึกษา องค์การจัดการศึกษา ตลอดจนผู้ศึกษาหรือผู้เรียน ลดค่าใช้จ่าย จากการใช้บริการผ่านเครือข่าย ช่วยให้ข้อมูลและการบริการที่รวดเร็ว ทันสมัย (จะไม่เห็นตำราเอกสารประกอบการเรียนเก่าๆสีเหลืองๆอีกต่อไป) อันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
www.thaiwbi.com
1.5 ความหมายMedia
คำว่า "สื่อ" (Media) เป็นคำที่มาจากภาษาละตินว่า "medium" แปลว่า "ระหว่าง" หมายถึง สิ่งใดก็ตามที่บรรจุข้อมูลเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับสามารถสื่อสารกันได้ตรงตามวัตถุประสงค์ เมื่อมีการนำสื่อมาใช้ในกระบวนการเรียน การสอนก็เรียกสื่อนั้นว่า "สื่อการเรียนการสอน" (Instruction Media) หมายถึง สื่อชนิดใดก็ตามที่บรรจุเนื้อหา หรือสาระการเรียนรู้ซึ่งผู้สอนและผู้เรียนใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการเรียนรู้เนื้อหา หรือ สาระนั้น ๆ .......การเรียนการสอนในภาพลักษณ์เดิม ๆ มักจะเป็นการถ่ายทอดสาระความรู้จากผู้สอนไปยังผู้เรียน โดยใช้สื่อ การเรียนการสอนเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ความคิด ทักษะและประสบการณ์ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปแล้วว่าการเรียนรู้ไม่ได้จำกัด อยู่ เฉพาะในห้องเรียน หรือในโรงเรียน ผู้สอนและผู้เรียนสามารถเรียนรู้จากสื่อต่าง ๆ อย่างหลากหลาย สามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลาและทุกสถานที่ สื่อที่นำมาใช้เพื่อการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงเรียกว่า "สื่อการเรียนรู้" ซึ่งหมายถึงทุกสิ่ง ทุกอย่างที่มีอยู่รอบตัวไม่ว่าจะเป็นวัสดุ ของจริง บุคคล สถานที่ เหตุการณ์ หรือความคิดก็ตาม ถือเป็น สื่อ การเรียนรู้ทั้งสิ้น ขึ้นอยู่กับว่าเราเรียนรู้จากสิ่งนั้น ๆ หรือนำสิ่งนั้น ๆ ข้ามาสู่การเรียนรู้ของเราหรือไม่
(www.mcupl.th.edu/main/media/media01.html)
1.6 ความหมายของ Instruction
ปัจจุบันวิสัยทัศน์การพัฒนาการศึกษาในสังคมไทยท่ากลางความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้นในแง่ลบอันมีผลกระทบเชื่อมโยงจากบริบทสังคมโลก การพัฒนาคุณภาพคนเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด แม้กรศึกษาจะเป็นกระบวนการสำคัญ ในการพัฒนาคนแต่ระบบการสศึกษาที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพเท่านั้น จึงจะเอื้ออาทรต่อการพัฒนาศักยภาพและความสามารถตลอดจนคุณลักษณะต่างๆ ของคนที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตแนวคิดในการพัฒนาการศึกษาจำเป็นต้องปรับเพื่อให้การจัดการศึกษาบรรลุตามวิสัยทัศน์ที่พึงประสงค์โดยการให้การศึกษาเป็นกระบวนการที่ทำให้ผู้เรียนรู้จักการเรียนรู้ รู้วิธีแสวงหาความรู้ด้วยตนเองในรูปแบบและวิธีการหลากหลาย โดยเน้นการศึกษาที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาการศึกษา ให้โอกาสผู้เรียนมีบทบาทในการพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ ความมุ่งหวังดังกล่าว มีผลให้องค์ประกอบหนึ่งของการจัดการศึกษา ที่เรียกว่าเทคโนโลยีทางการศึกษา เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาให้สอดคล้องและพัฒนาตัวเองให้มีประสิทธิภาพตามวิสัยทัศน์ของการพัฒนาการศึกษาในปัจจุบันโดยที่เทคโนโลยีทางการศึกษา มีบทบาท ในการนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อออกแบบและส่งเสริมกระบวนการเรียนการสอน โดยเน้นวัตถุประสงค์ทางการศึกษาที่สามารถวัดได้อย่างถูกต้องแน่นอน มีการยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มากกว่าจะยึดเนื้อหาวิชามีการใช้การศึกษาเชิงปฏิบัติโดยผ่านการวิเคราะห์และการใช้เครื่องโสตทัศนูปกรณ์รวมถึงเทคนิคการสอนโดยใช้อุปกรณ์ต่างๆ อาทิเช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ สื่อการสอนต่าง ๆ ในลักษณะของสื่อประสม และการศึกษาตนเอง
สื่อ (MEDIA) เป็นตัวกลางที่ช่วยถ่ายทอดเรื่องราว ข่าวสาร ความรู้เหตุการณ์ แนวความคิด สถานการณ์ ฯลฯ ที่ผู้ส่งสารต้องการส่งไปยังผู้รับสารสื่อการสอน (INSTRUCTION MEDIA) เป็นตัวกลางที่ช่วยนำ และถ่ายทอดความรู้จากผู้สอนหรือแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน เพื่อให้การเรียน การสอน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์มัลติมีเดียหรือสื่อประสม (MULTIMEDIA) เป็นการนำเอาตัวกลางหลายๆ ชนิดที่ผ่านประสาทสัมผัสต่างๆ เช่น เสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหว ฯลฯ มาสัมพันธ์กัน ซึ่งแต่ละชนิดมีคุณค่าส่งเสริมซึ่งกันและกัน ก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ลึกซึ้ง ป้องกันการเข้าใจความหมายผิดเป็นการให้ผู้เรียนใช้ประสาทสัมผัสที่ผสมผสานกันสามารถตอบสนองจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอนได้อย่างสมบูรณ์ มีการจัดระเบียบของตัวกลาง (MEDIA) เพื่อใช้ให้เหมาะสมในการนำเสนอเนื้อหาของสื่อแต่ละชนิด เพื่อให้คำตอบที่ชัดเจนเป็นประโยชน์และน่าสนใจแก่ผู้เรียน องค์ประกอบสำคัญในการออกแบบการจัดระบบสื่อประสมนั้นไม่ใช่เป็นเพียงแต่การใช้เครื่องมือทางโสตทัศน์มากกว่า 2 ชนิด ขึ้นไปเท่านั้น แต่จะต้องเป็นการประสานความสัมพันธ์ของสื่อที่ใช้ เพื่อใช้ประโยชน์จากคุณลักษณะและความสามารถ หรือศักยภาพของสื่อแต่ละชนิดนั้นให้ได้ประโยชน์มากที่สุด ทำให้สื่อแต่ละชนิดที่ใช้นั้นอำนวยประโยชน์แก่ดันและกัน ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีได้มากขึ้น
(www.thapra.lib.su.ac.th)
( MULTIMEDIA หรือสื่อประสมเพื่อการศึกษาสถาพร สาธุการ)
7. ความหมายของ Multimedia
คำว่า Multimedia นิยมพูดทับศัพท์ และใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในอดีตและปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม เมื่อเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์พัฒนาขึ้น คำจำกัดความของคำว่า Multimedia ก็ได้รับการปรับเปลี่ยนไปบ้าง ภาพทัศน์เดิมซึ่งเป็นการต่อเชื่อมอุปกรณ์หลายประเภทเข้ามาใช้ร่วมกันอย่างเป็นระบบ และต้องมีการจัดเตรียมเพื่อนำเสนออย่างพิถีพิถัน กลายเป็นการมองภาพของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ได้รับการออกแบบให้สามารถนำเสนอสื่อหลากหลายประเภท ผ่านจอคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องถ่ายทอดสัญญาณในรูปแบบอื่น โดยความยากจะอยู่ที่ขั้นตอนการเขียนหรือออกแบบโปรแกรม ส่วนการนำเสนอนั้นง่าย ไม่ซับซ้อน คำว่า "สื่อมัลติมีเดีย" เป็นการใช้คำซ้อนกัน คือคำว่า สื่อ + Multimedia ซึ่ง Multimedia ก็มีความหมายว่า สื่อประสมหรือสื่อหลายสื่ออยู่แล้ว เมื่อมาผนวกกันจึงเกิดคำซ้ำขึ้น คือ สื่อ + สื่อประสม คำว่าสื่อมัลติมีเดียที่ใช้ในหนังสือเล่มนี้ จึงให้มีวัตถุประสงค์เฉพาะซึ่งได้อธิบายไว้ในตอนต้นของบทนี้แล้ว ปัจจุบัน สื่อมัลติมีเดียบนเว็บและสื่อมัลติมีเดียในรูปแบบของซีดีรอม กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก การออกแบบสื่อมัลติมีเดียมีความหลากหลายขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การใช้งาน เช่น หากออกแบบเพื่อการเรียนการสอน เราเรียกว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ Computer-Assisted Instruction (CAI) สื่อมัลติมีเดียไม่จำเป็นต้องเป็น CAI เสมอไป ข้อมูลต่างๆ ที่เราสืบค้นทางอินเทอร์เน็ตซึ่งมีภาพและเสียงก็ถือเป็นสื่อมัลติมีเดีย ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา สถาบันการศึกษาเกือบทุกระดับได้เล็งเห็นความสำคัญของสื่อมัลติมีเดีย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง CAI แต่เนื่องจากสื่อมัลติมีเดียที่จำหน่ายมีราคาค่อนข้างแพงและไม่ค่อยสอดคล้องกับของหลักสูตร การลงทุนจึงไม่ค่อยได้ผลเต็มที่ สถาบันการศึกษาหลายแห่งแก้ปัญหาด้วยการผลิตสื่อมัลติมีเดียเอง ซึ่งแม้จะเป็นทางออกที่ดี แต่ในเชิงปฏิบัติมีอุปสรรคมากพอสมควร แนวคิดในการแก้ปัญหานี้น่าจะเป็นการผสมผสานระหว่างการกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันในการผลิตขององค์กรเอกชน และขณะเดียวกันก็สนับสนุนให้หน่วยงานหลักที่ดูแลด้านการศึกษาของประเทศ จัดระบบการผลิตที่เต็มรูปแบบและต่อเนื่องอีกทางหนึ่งได้
www.kmitl.ac.th
การประยุกต์ใช้มาตรฐานสากลด้านความปลอดภัยข้อมูลกับงานบริหารความเสี่ยงระบบสารสนเทศในองค์กรอย่างได้ผลในทางปฏิบัติ
Information Technology Risk Management using International Standard Methodologies and Frameworks by A.Pinya Hom-anek,GCFW, CISSP, CISA, (ISC)2 Asian Advisory BoardPresident, ACIS Professional Center E-mail:
เสี่ยง หรือ Risk Management นั้น ปัจจุบันนี้นับว่าเป็นเรื่องที่หลายองค์กร ยากที่จะหลีกเลี่ยงได้ เนื่องจากปัญหาด้านความปลอดภัยกับข้อมูล หรือ Information Security ได้ทวีความรุนแรงและได้สร้างความเสียหายมากขึ้นไปตามกระแสการใช้งานระบบสารสนเทศ และอินเตอร์เน็ตในองค์กรที่เพิ่มขึ้น ตลอดจน เรื่องของ กฎข้อบังคับ และ กฎหมายต่างๆ ที่ออกมาบังคับให้องค์กรสมัยใหม่ต้องปฏิบัติตาม ดังที่ เราเรียกกันติดปากว่า "Regulatory Compliance" โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรที่ต้องทำธุรกิจและธุรกรรมในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะต้องผ่านข้อกำหนดกฎข้อบังคับต่างๆ ของกฎหมาย SOX, HIPAA และ GLBA ซึ่งกฎหมายเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ต้องมีความเกี่ยวข้องกับ การบริหารความเสี่ยงระบบสารสนเทศ (IT Risk Management) ในองค์กรแทบทั้งสิ้น ปัญหาที่เกิดขึ้น ก็คือ มาตรฐานสากลต่างๆ ที่ว่าด้วยการบริหารความเสี่ยงเหล่านี้มีอยู่หลายมาตรฐานด้วยกัน บางมาตรฐานก็ไม่เหมาะสำหรับการประเมินความเสี่ยงระบบสารสนเทศ (IT Risk Assessment) ทำให้องค์กรหลายแห่งเกิดปัญหาในการเลือกใช้มาตรฐานต่างๆ อาทิ เช่น มาตรฐานของ NIST (National Institute of Standards and Technology) ได้แก่ NIST 800-30 "Risk Management Guide for Information Technology Systems", มาตรฐานของ Australia และ New Zealand ได้แก่ AS/ NZS 4360:2004 หรือ มาตรฐานของ Software Engineering Institute (SEI) แห่งมหาวิทยาลัย Carnegie Mellon ได้แก่มาตรฐาน OCTAVE ซึ่งย่อมาจาก Operationally Critical Threat, Asset and Vulnerability Evaluation ยังไม่รวมถึงเฟรมเวิร์ค (Framework) ต่างๆที่หลายคนคงเคยได้ยินไม่ว่าจะเป็น COSO Framework , CoBit Framework และ ISO/ IEC17799 ซึ่งขณะนี้ได้เปลี่ยนเป็น ISO/IEC 27001 เป็นต้น เรียกได้ว่า ผู้บริหารด้านความปลอดภัยข้อมูลขององค์กรหลายคนเกิดความสับสนและไม่รู้ว่าจะนำมาตรฐานหรือเฟรมเวิร์คใดมาใช้ให้เหมาะสมกับการบริหารความเสี่ยงระบบสารสนเทศในองค์กรของตน ก่อนอื่น เรามาทำความเข้าใจกับคำว่า "Methodologies" และ "Frameworks" เสียก่อน ความหมายของ Risk Management Methodologies ได้แก่ ขั้นตอน หรือ วิธีการในการบริหารความเสี่ยงอย่างถูกต้องตามหลักการมาตรฐานสากลที่ทั่วโลกยอมรับและนำมาประยุกต์ใช้กันโดยทั่วไป ส่วน "Framework" นั้น หมายถึง ขั้นตอน หรือ วิธีการที่ช่วยให้องค์กรได้ "Compliance" ตามหลักการมาตรฐานสากล ยกตัวอย่าง เช่น ถ้าพูดถึงการควบคุมภายใน หรือ "Internal Control" ก็จะหมายถึง COSO Framework หรือ Corporate Governance แต่ถ้าพูดถึง "IT Governance" ก็จะหมายถึง CobiT Framework ที่กำหนดขอบเขตแคบลงมาเจาะลึกในส่วนของระบบสารสนเทศ และ ถ้ากล่าวถึง Information Security Management System หรือ ISMS จะหมายถึง มาตรฐานสากล ISO/IEC 27001 (ชื่อเดิม ISO/ IEC 17799) นั่นเอง เราจะสังเกตได้ว่าทั้ง COSO, CobiT และ ISO/ IEC 27001 นั้น ได้กล่าวถึงเรื่องของ Risk Assessment และ Risk Management ด้วยกันทั้งสิ้น แต่ทว่ายังไม่มีรายละเอียดเจาะลึกในการทำ Risk Management และ Assessment ต่างจากมาตรฐาน NIST 800-30, OCTAVE หรือ AS/ NZS 4360:2004 นั่นคือเราต้องนำมาตรฐานดังกล่าวมาประยุกต์ใช้อีกครั้งหนึ่งเพื่อลงในรายละเอียดเพิ่มมากขึ้น และ ใน CobiT นั้น ได้กล่าวถึงเรื่องของ Risk Management ไว้ใน PO9 (Planning and Organization) ซึ่งก็จะลงรายละเอียดในระดับหนึ่ง แต่ยังไม่ละเอียดเหมือนกับมาตรฐานทั้งสาม ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว สำหรับมาตรฐาน NIST 800-30 นั้น จะเน้นเรื่อง Threat and Vulnerability Identification, Likelihood determination, Impact Analysis และ Control Recommendations นั่นคือ ต้องกำหนด ภัย และ ช่องโหว่ ของระบบให้ได้เสียก่อน จากนั้นจึงดูโอกาสของความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น ประกอบกับ ผลกระทบจากความเสี่ยงดังกล่าว ตลอดจนถึงวิธีการแก้ไขปัญหาของความเสี่ยงในรูปแบบต่างๆ โดยมาตรฐาน NIST 800-30 ถือเป็นต้นแบบซึ่งมาตรฐานอื่นๆ นำไปปรับปรุงแก้ไขให้มีรายละเอียดเน้นไปตามวัตถุประสงค์ของมาตรฐานนั้นๆ ในส่วนมาตรฐาน OCTAVE ของ SEI นั้นจะเน้นไปที่ "คน และ กระบวนการ" (People and Process) โดยมีการทำเวิร์คช็อปเป็นทีม (Team Workshop) ประกอบด้วย ทั้งผู้บริหาร และ ฝ่ายปฎิบัติการจากส่วนของการรักษาความปลอดภัยข้อมูลคอมพิวเตอร์ และจากส่วนของการบริหารธุรกิจ ซึ่ง OCTAVE จะมีการใช้ Checklists และ Questionnaires ในการสอบถามทีมที่เข้าร่วมเวิร์คช็อป เพื่อที่จะให้ทุกคนได้เข้าใจเรื่องของความเสี่ยง และ รู้จักวิเคราะห์ผลกระทบของความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ซึ่ง OCTAVE จะลงรายละเอียดได้ดีกว่า NIST 800-30 เพราะผู้ร่วมทีมแต่ละคนจะมีความเข้าใจกระบวนการ (Process) ที่ตัวเองรับผิดชอบอยู่ได้เป็นอย่างดี สำหรับมาตรฐาน AS/ NZS 4360:2004 นั้นจะครอบคลุมเนื้อหาด้านการบริหารความเสี่ยงที่กว้างกว่า NIST 800-30 และ OCTAVE เนื่องจาก AS/ NZS 4360:2004 จะเน้นเรื่องของสถานการณ์ทางด้านการเงิน ความปลอดภัยของพนักงาน และ ความเสี่ยงในการตัดสินใจทางธุรกิจของผู้บริหารด้วย องค์กรที่มีความจำเป็นต้อง "Compliance"กฎหมาย SOX, HIPAA และ GLBA นั้นมักจะเริ่มที่มาตรฐาน NIST 800-30 ก่อน จากนั้นก็ค่อยปรับลงรายละเอียดเข้าสู่มาตรฐาน OCTAVE ซึ่งจะใช้เวลามากกว่า แต่จะได้ผลดีตรงการทำเวิร์คช็อปที่ความต้องการด้านความปลอดภัยและความต้องการด้านการดำเนินธุรกิจได้มาปรับให้เข้ากัน และเหมาะสมกับการดำเนินงานขององค์กร สำหรับ ISO/ IEC 17799 และ ISO/ IEC 27001 ถือได้ว่าเป็นมาตรฐานสากล (International Standard) ด้านการบริหารจัดการเรื่องของความปลอดภัยข้อมูล ซึ่งจะครอบคลุมเรื่องสำคัญต่างๆ อาทิ เช่น Security Policy และ Security Incident Management ซึ่งวัตถุประสงค์ก็ไม่ได้ต่างจากวัตถุประสงค์ของการบริหารความเสี่ยงระบบสารสนเทศ ซึ่งก็คือการลดความเสี่ยง (Risk Reduction) ให้อยู่ในจุดที่ยอมรับได้ (Risk Acceptance Level) โดยมีสมมุติฐานเหมือนกันคือ "เราไม่สามารถลดความเสี่ยงให้เท่ากับศูนย์ได้ แต่เราสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในจุดที่เรายอมรับในความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ และ สามารถทำให้องค์กรดำเนินงานได้ต่อเนื่องอย่างไม่ติดขัด" กล่าวโดยสรุปคือ "การบริหารความเสี่ยงนั้นขึ้นอยู่กับมุมมอง" ถ้าเรามองด้านธุรกิจ การบริหารความเสี่ยงของธุรกิจก็จะขึ้นกับการตัดสินใจของผู้บริหาร เช่น ตัดสินใจว่าจะผลิตสินค้า หรือจะยกเลิกการผลิตสินค้า เป็นต้น แต่ถ้าเรามองในด้านความปลอดภัยข้อมูลสารสนเทศ เรามักจะเจาะลึกถึงขั้นตอนรายละเอียดในการปฎิบัติการ ตลอดจนรายละเอียดทางด้านเทคนิค ซึ่งต้องมีกระบวนการประเมินความเสี่ยงอื่นเสริมเข้ามาช่วยด้วย เช่น การทำ Vulnerability Assessment และ Penetration Testing เพื่อช่วยให้เราเกิดความมั่นใจกับความปลอดภัยของระบบสารสนเทศมากขึ้น ดังนั้น ขอบเขตของงานประเมินความเสี่ยง และ งานบริหารความเสี่ยง จึงขึ้นกับความต้องการของผู้บริหารในแต่ละองค์กร และขึ้นกับลักษณะในการดำเนินงานขององค์กร แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกองค์กรเหมือนกัน ก็คือ ควรจะต้องมีการบริหารจัดการความเสี่ยงระบบสารสนเทศอย่างจริงจัง แล ะตรวจสอบผลลัพธ์ได้ชัดเจน โดยผู้ตรวจสอบระบบสารสนเทศ (IT Auditor) ควรจะเข้ามาประเมินอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าได้เป็นไปตามแนวทางที่ถูกต้องตามมาตรฐานสากล และ สนับสนุนแนวความคิดเรื่อง IT Governance และ Corporate Governance ในที่สุด
ความสำคัญของไอซี
ไอซีทีี อันประกอบด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศโดยใช้คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่ชิปคอมพิวเตอร์เป็นหลักสำคัญในการทำงานและเทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อการรับส่งสารสนเทศด้วยอุปกรณ์สื่อสาร เช่น รับข่าวสารจากวิทยุ/โทรทัศน์/อินเทอร์เน็ตการรับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ สั่งพิซซ่าทางอินเทอร์เน็ต ฯลฯ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ทำให้เห็นได้ว่าไอซีทีได้เข้ามามีความสำคัญและมีบทบาททุกด้านในวิถีความเป็นอยู่ประจำวันของเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ไอซีทีมีความสำคัญทั้งในระดับประเทศและระดับโลก อันเป็นผลทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ในสังคมทั้งด้านเศรษฐกิจ การค้า รัฐบาล การเมือง การแพทย์ การศึกษา การสื่อสาร การกีฬา การท่องเที่ยว การพยากรณ์อากาศ การเกษตร และอื่นๆ อีกมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพัฒนาประเทศโดยใช้ไอซีทีเพื่อขจัดความยากจน ปรับปรุงคุณภาพชีวิต พัฒนาส่งเสริมการศึกษา ให้บริการต่างๆ ของรัฐบาล ฯลฯ เพื่อผลักดันให้ก้าวไปสู่สังคมสารทนเทศและสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต อันเป็นผลทำให้มีการเปลี่ยนรูปแบบของสังคมเกษตร และสังคมอุตสาหกรรมมาสู่สังคมแห่งเทคโนโลยี มีการส่งเสริมให้ประชาชนเป็นผู้รู้เทคโนโลยีโดยลดช่องว่างด้านดิจิทัลเพื่อความเสมอภาคในการดำรงชีวิตและพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิต อันเอื้อให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อบทบาทผู้นำในยุคโลกาภิวัฒน์
“อินเทอร์เน็ตกำลังผลักดันใหห้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจของโลกที่เรียกว่า เศรษฐศาสตร์เครือข่าย (Network Economy) และเป็นระบบการค้าที่ไร้พรมแดน”กรีน สแปน ผู้ว่าการธนาคารสหรัฐฯ กระแสการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม เป็นเงื่อนไขใหม่ของโลกที่ส่งผล กระทบกับสังคมไทย เทคโนโลยีสารสนเทศ กำลังเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนแห่งระบบ บทบาทขององค์การต้องปรับเปลี่ยน ผู้บริหารต้องมีวิสัยทัศน์ มีความเข้าใจในการประสานด้านเทคโนโลยีกับการบริหารองค์การสมัยใหม่ ซึ่งเป็น การบริหารโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Result-base Management) เพื่อประสิทธิภาพ ประสิทธิผลที่เป็นรูปธรรม และสามารถวัดได้ การวางแผนเชิงกลยุทธ์ ด้านเทคโนโลยี การเลือกสรรเทคโนโลยีที่เหมาะสม ที่เอื้อต่อการวางแผนและการจัดการขององค์การ ประเทศไทยกับนโยบายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศด้วยความจำเป็นและกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นคณะ กรรมาการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติได้ตระหนักถึงความสำคัญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและเพื่อการส่งเสริม เผย แพร่เทคโนโลยี จึงได้ประกาศใช้นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศฉบับแรกที่เรียกว่า IT – 2010 โดยได้จัดทำนโยบายไอที 2000 และเสนอภารกิจที่รัฐบาลต้องเร่งดำเนินการ 3 ประการ1. การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศแห่งชาติ2. การลงทุนในด้านพัฒนาคุณภาพของพลเมือง3. การลงทุนในการบริหารและบริการภาครัฐที่ดีได้ประกาศใช้มาตั้งแต่ปี 2539 โดยมีระยะเวลา 5 ปี และเพื่อเป็นการต่อเนื่องในเดือนตุลาคม 2544 จึงได้จัดทำแผนแม่บทด้านเทคโนโลยี สารสนเทศฉบับที่ 2 ซึ่งจะครอบคลุมกรอบเวลา 10 ปี (พ.ศ. 2544-2553) หรือ IT-20101 ขึ้น โดยให้ความสำคัญกับบท บาทของเทคโนโลยีสารสนเทศที่เน้นการพัฒนาด้าน IT ใน 5 สาขา ได้แก่1. การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในภาครัฐ (e- Government)2. การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในภาคอุตสาหกรรม (e-Industry)3. การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศใน ภาคการพาณิชย์ (e-Commerce)4. การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในภาคการศึกษา (e-Education)5. การพัฒนาเทคโนโลยี สารสนเทศในภาคสังคม (e-Society)และเพื่อให้เห็นถึงรูปธรรมที่ชัดเจนแห่งการกำหนดกลยุทธ์ตามแผนที่วางไว้ ดิฉันจะทำการวิเคราะห์ SWOT เพื่อพิจารณาถึงจุดดี –ด้อย รวมถึงโอกาสและความเป็นได้สู่การสร้างหรือการกำหนดกลยุทธ์ (Creation of Strategy) ในการแก้ไขและพัฒนาให้ประเทศชาติไปสู่เศรษฐกิจในสังคมโลกาภิวัตน์ อย่างเป็นรูปธรรม ในระยะ 10 ปีข้างหน้า ดังนี้ค่ะ1. การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในภาครัฐ (e-Government) การปรับปรุงและพัฒนาระบบการปฏิบัติของ ภาครัฐโดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่ายการสือสาร ในการจัดองค์การสมัยใหม่ เพื่อการบริหารและการบริการที่ รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ทั้งระบบบริหารภายใน (Back Office) และระบบบริการภายนอก (Front Office) เพื่อการนำ ไปสู่ Good Government โดยจัดทำแผนแม่บท และปรับปรุงในส่วนที่เกี่ยวข้องเช่นบุคลากร ระบบการบริหาร กฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆจุดแข็ง (Strengths)- เป็นระบบที่ทันสมัย- เป็นระบบที่ให้บริการได้รวดเร็ว และสามารถลดขั้นตอนต่างๆในการทำธุรกรรมต่างๆผ่านระบบออนไลน์- สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่ให้ดียิ่งขึ้น และลดความกดดันให้กับเจ้าหน้าที่ภาครัฐ (Service Mind)- สามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ ระหว่างหน่วยงานภาครัฐและองค์กรเอกชน เพื่อการประสานงานและการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น (Match Maker)- สามารถตรวจสอบข้อมูลและทำธุรกรรมทางการเงิน โดยผ่านระบบธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อลดความยุ่งยากและสะดวกรวดเร็ว เป็นอีกช่องทางเลือกหนึ่งให้กับภาคประชาชนในการทำธุรกรรมต่างๆกับหน่วยงานภาครัฐ- สร้างภาพพจน์ที่ดีให้กับหน่วยงานภาครัฐจุดอ่อน (Weaknesses)- เป็นระบบที่สร้างภาระในด้านงบประมาณให้กับหน่วยงานภาครัฐ การพัฒนาระบบ การบำรุงรักษาและการจ้างบุคลากร ที่มีความเชี่ยวชาญและอื่นๆอีก- เป็นระบบที่มีความยุ่งยาก ซับซ้อนในการใช้งาน- การจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลของแต่ละหน่วยงานยังไม่มีความปลอดภัย- ขาดแคลนบุคลากรทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ- ยังไม่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานกลางในการเชื่อมโยง และแปรข้อมูลระหว่างองค์กร- ยังไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ทุกกลุ่ม- บุคลากรของภาครัฐยังขาดความรู้และความเข้าใจในการใช้ระบบ E-Commerceโอกาส (Opportunities)- แนวโน้มการใช้บริการเกี่ยวกับระบบ On-line ในประเทศไทยมีการใช้แพร่หลายมากขึ้น- เทคโนโลยีสารสนเทศมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นระบบ network ต่างๆ เพื่อรองรับจำนวนผู้ใช้บริการในปัจจุบันที่มีจำนวนมากขึ้น- ปัจจุบันหน่วยงานภาครัฐและองค์กรเอกชน หันมาสนใจในการพัฒนา และการนำระบบ on-line มาพัฒนาเพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารและการเชื่อมโยงมากขึ้นอุปสรรค (Threats)- ขาดการเชื่อมโยงอันเป็นมาตรฐานเดียวกันในทุกองค์กร- การติดขัดเนื่องจาก ข้อกำหนด กฎเกณฑ์ กฎหมายและนโยบายที่ซับซ้อนและขาดความชัดเจน- การโฆษณาประชาสัมพันธ์ในการใช้ระบบ e-Government ยังไม่มีความครอบคลุมและทั่วถึง ทำให้ผู้รับบริการบางกลุ่มขาดความรู้ และความเข้าใจในการใช้ระบบอย่างถูกต้อง- ขาดการสนับสนุนจากภาครัฐในการพัฒนาระบบ โครงสร้างพื้นฐาน งบประมาณและบุคลากร ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ- ประชาชนยังขาดความเชื่อมั่น และความเข้าใจในการใช้ระบบ e-Government2. การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในภาคการพาณิชย์ (e-Commerce) เป็นการส่งเสริมการทำธุรกิจบนอินเทอร์เน็ตหรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเพิมขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการค้าภายในและระหว่างประเทศโดยการพัฒนาระบบความปลอดภัยในการชำระเงินบนเครือข่ายและเร่งออกกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งโครสร้างพื้นฐานที่มีศักยภาพจุดแข็ง (Strengths)- วิสัยทัศน์ของผู้นำและผู้บริหารที่ให้ความสำคัญกับ ICT มากขึ้น- ภูมิประเทศของไทยซึ่งเป็นทั้ง gateway และศูนย์กลางการค้า- มีการลงทุนนำ ICT มาใช้ในงานด้านต่างๆ มากขึ้น สามารถก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มแก่ผลิตภัณฑ์พื้นฐาน- ศักยภาพในการขยายตัวของตลาด ICT ของไทยจุดอ่อน (Weaknesses)- ประเทศไทยยังไม่ได้ปรับกฎระเบียบ กลไกที่เกื้อหนุนการเข้าสู่เศรษฐกิจใหม่ (New Economy) - ขาดพื้นฐานด้านภาษาอังกฤษที่จะใช้งาน ICT ได้ดี- ขาดการสนับสนุนการส่งออกผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาได้อย่างเป็นรูปธรรมและเป็นระบบ- การขาดความสามารถและประสบการณ์ด้านการจัดการ- บริษัทไอทีของไทยยังขาดความสามารถด้านการตลาดและการหาลูกค้ารายใหญ่- ขาดหน่วยงานดูแลด้านความมั่นคงและความปลอดภัยของเครือข่ายในประเทศ- ความผันผวนของค่าเงินบาทส่งผลกระทบกับการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศ- ขาดการสร้างแรงจูงใจเพื่อให้บุคลากร ICT ของไทยให้ความสำคัญกับใบรับรองมาตรฐานคุณภาพโอกาส (Opportunities)- การพัฒนาด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ช่วยให้สินค้าและบริการไทยเข้าสู่ตลาดโลกได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำลง- การเปิดเผยข้อมูลด้านมาตรฐานของบริษัทข้ามชาติ- มีโอกาสได้เรียนรู้ประสบการณ์การพัฒนา ICT จากต่างประเทศ- ความต้องการด้านบริการโทรคมนาคมประเทศเพื่อนบ้านขยายตัว- การใช้ประโยชน์จากการรวมตัวของอาเซียน- ตลาดในประเทศใกล้เคียงมีโอกาสขยายตัวเพราะรายได้คนในภูมิภาคนี้เพิ่มขึ้นอุปสรรค์ (Threats)- การกีดกันทางการค้าในเวทีการค้าโลกด้วยมาตรการที่ไม่ใช่ภาษี- ความล่าช้าในการกำหนดมาตรฐาน ICT ของโลก- ผลกระทบของโลกาภิวัตน์ต่อการถ่ายเททางวัฒนธรรมและการเงิน- ภัยคุกคามต่อความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศในประเทศ (hacker cracker และ virus)- นโยบายประเทศเพื่อนบ้านทำให้เกิดความได้เปรียบมากกว่าประเทศไทย- การแข่งขันด้านการพัฒนา ICT ของประเทศเพื่อนบ้านก้าวหน้ากว่าไทย- การพัฒนาบุคลากรทางเทคโนโลยีที่มีคุณภาพได้มากขึ้นของประเทศเพื่อนบ้าน- ประเทศอื่นมีความก้าวหน้าและความแข็งแกร่งด้านเทคโนโลยี และการตลาด- ภาวะเศรษฐกิจโลกตกต่ำ มีผลกระทบต่อการกระตุ้นการเติบโตของธุรกิจ ICT- นโยบายการค้าเสรีในตลาดโลก ทำให้เกิดการรุกรานทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว3. การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในภาคอุตสาหกรรม (e-Industry) การส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศทั้งในส่วนซอฟต์แวร์ ระบบโทรคมนาคมและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของไทยให้มีศักยภาพ อีกทั้ง สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนากภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมรวมถึงการสร้างบุคลากรในภาค อุตสาหกรรมจุดแข็ง (Strength)- เริ่มมีการผ่านกฎหมายด้าน ICT- ภาครัฐและเอกชนไทย ได้ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศเป็นอย่างมาก- มีหน่วยงานระดับชาติดำเนินการ/สนับสนุนนวัตกรรมด้าน ICT- คนไทยมีฝีมือประณีต ละเอียดอ่อน เป็นศักยภาพของการพัฒนาซอฟต์แวร์จุดอ่อน (Weaknesses)- การใช้จ่ายในการจัดหาผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัย ฟุ่มเฟือย ไม่ได้ประโยชน์เต็มที่- ขาดความเชื่อมโยงระหว่างอุตสาหกรรมขนาดใหญ่กับ SME และระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชน- ขาดปัจจัยต่างๆ ที่จะสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา และการนำผลการวิจัยและพัฒนา ไปใช้ในเชิงพาณิชย์- การกระจายโครงข่ายโทรคมนาคมไม่มีคุณภาพ และประสิทธิภาพเพียงพอ- กฎหมายโดยรวมและกฎหมาย ICT ยังไม่ได้ปรับปรุงให้ครบถ้วนที่จะรองรับความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี- การผลิตอาศัยวัตถุดิบจากต่างประเทศเป็นหลัก ขาดการส่งเสริมอุตสาหกรรมต้นน้ำ- นโยบายการลงทุน ICT ด้วยเงินร่วมทุนเบื้องต้น (Seed Money) และมาตรการส่งเสริมการลงทุนยังไม่เป็นรูปธรรม- ผู้ผลิตขาดความรู้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของต่างประเทศ ขาดการประสานงานที่เป็นเครือข่ายทำให้การจัดซื้อปัจจัยต่างๆในการผลิตด้อยประสิทธิภาพ- คนไทยไม่เชื่อถือและให้การสนับสนุนคนไทยทำโครงการขนาดใหญ่- กระบวนการผลิต ICT ของไทยไม่ทันสมัย ทั้งด้านวิชาการ เครื่องมือการผลิต และขาดการให้ความสำคัญเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา- ยังมิได้จัดตั้งหน่วยงานกำกับดูแลธุรกิจแข่งขันเสรีที่เป็นธรรมด้านโครงสร้างพื้นฐาน- ขาดการสร้างแรงจูงใจเพื่อให้บุคลากร ICT ของไทยให้ความสำคัญกับใบรับรองมาตรฐานคุณภาพ- แหล่งเงินทุนภายในประเทศยังไม่ถูกนำมาใช้เพื่อพัฒนา ICT ในประเทศโอกาส (Opportunities)- การขนส่งสินค้าโดยใช้ e-logistic มีการแข่งขันอย่างรุนแรงในตลาดโลก- อุตสาหกรรมการสื่อสารแบบไร้สาย และ broadband ได้รับความนิยมอย่างสูง- ผู้นำในภูมิภาคอาเซียนมีวิสัยทัศน์และเห็นความสำคัญของ ICT มากขึ้น- การเป็นพันธมิตรกับประเทศผู้นำด้าน ICT จะสร้างโอกาสในการกำหนดมาตรฐานและข้อตกลงระหว่างประเทศ- การเปิดเผยข้อมูลด้านมาตรฐานของบริษัทข้ามชาติอุปสรรค (Threats)- ความเสียเปรียบในเวทีการแข่งขันระหว่างประเทศ ของอุตสาหกรรมไทยที่ยังไม่มีความเข้มแข็ง- การเติบโตของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศอินเดีย จีน ที่มีบุคลากรที่มีคุณภาพและค่าแรงต่ำ- ความล่าช้าในการกำหนดมาตรฐาน ICT ของโลก4. การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในภาคการศึกษา (e-Education) เป็นการพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีความรู้ ความสามารถในทุกระดับชั้น โดยเปิดโอกาสทางการเรียนรู้และส่งเสริมสนับสนุนในด้านโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ เครือข่ายการศึกษาและการสร้างฐานความรู้อีกทั้งยกระดับครูให้มีความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเตรียมความพร้อม ในการแข่งขันโลกปัจจุบันจุดแข็ง (Strengths)- การขยายตัวของผู้ประกอบการ- การจัดตั้ง CIO ของภาครัฐ- ความตื่นตัวด้าน ITเพิ่มขึ้น- การผลิตบุคลากร ITสายอาชีวศึกษา- โครงสร้างพื้นฐานกายภาพที่ดี- การพัฒนาโครงสร้างและหลักสูตรการศึกษาพื้นฐาน- มีจำนวนผู้จบการการศึกษาระดับอาชีวศึกษามาก สามารถเป็นพื้นฐานผู้ใช้ ICT ที่มีคุณภาพจุดอ่อน (Weaknesses)- ความไม่เท่าเทียมกันของการกระจายโครงสร้างพื้นฐานสู่ชนบท- ขาดข้อมูลและการบริหารจัดการฐานข้อมูล- ความซ้ำ ซ้อนในการบริหารการลงทุน- ขาดการประสานงานภาครัฐ- ขาดการสนับสนุนด้านการตลาดจากภาครัฐ- ขาดแคลนบุคลากรทักษะสูง- ขาดกลไกการฝึกอบรมและหลักสูตรต่อเนื่อง- หลักสูตร วิธีการเรียนการสอน ยังไม่สนับสนุนให้เกิดการค้นคิดที่เอื้อต่อการวิจัยและพัฒนา- พื้นฐานการศึกษาโดยเฉลี่ยของประชากรค่อนข้างต่ำ- อัตราของคุณวุฒิอาจารย์ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และเอกไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา- การเพิ่มพูนความรู้ และประสบการณ์ บุคลากรสายวิชาชีพในการพัฒนาเป็นผู้ชำนาญการ ยังไม่เป็นไปตามเป้าหมาย- ขาดแคลนเครื่องมือ ที่ทันสมัยและห้องปฏิบัติการมาตรฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี- ระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการยังขาดความเชื่อมโยงและยังไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพโอกาส (Opportunities)- การขยายตัวทางเศรษฐกิจ แบบ Knowledge-Based Economyทำให้เกิดความต้องการบุคลากรที่มีความรู้และทักษะในวิชาชีพสูงโดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี- นโยบายภาครัฐต้องการสนับสนุนผู้ประกอบการพัฒนาธุรกิจแบบยั่งยืน ส่งผลให้สถานศึกษาต้องเข้าไปมีบทบาทในการสนับสนุนช่วยเหลือ- ทัศนคติที่ดีของผู้นำ ต่อ ICT- มีนโยบายและมาตรการ ICTที่ชัดเจนอุปสรรค (Threats)- การจัดการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจำเป็นต้องมีอุปกรณ์และห้องปฏิบัติการที่เพียงพอและมีมาตรฐาน- นโยบายการปรับลดของงบประมาณและภาวะวิกฤตเศรษฐกิจทำให้การพัฒนาและบำรุงรักษาอุปกรณ์และห้องปฏิบัติการ- ขาดความต่อเนื่องและไม่ได้มาตรฐานทางการศึกษา- นโยบายการปรับลดอัตรากำลังคนภาครัฐมีผลต่อการพัฒนาการศึกษา- ความเข้าใจต่อประโยชน์ ICTทั่วไปยังน้อย- หลักสูตรการศึกษาไม่เอื้อต่อทักษะ R&D- ขาดนโยบายสนับสนุน R&D- พื้นฐานการศึกษาของประชาชนอยู่ในระดับต่ำ5. การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในภาคสังคม (e-Society) เพื่อให้ประชากรมีความเท่าเทียมในการเข้าถึงสารสนเทศและเมขีดความสามารถในการเรียนรู้ของชุมชน ส่งเสริมการเรียนรู้และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 และกรอบนโยบาย IT-2010 นำมาสู่แผนแม่บทการ พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย พ.ศ. 2545-2549 เป็นแผนปฏิบัติการระยะ 5 ปี โดย ศูนย์อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติกับคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและได้รับความเห็น ชอบจากคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ในฐานะที่ผู้เขียนคลุกคลีอยู่ในวง การเทคโนโลยีก็ต้องขอแสดงความยินดีกับแผนแม่บทฉบับนี้โดยเฉพาะคณะกรรมการและผู้เกี่ยวข้องเพราะมันเป็นแผน แม่บทที่กำหนดทิศทางในการพัฒนาปะรเทศ และกลยุทธ์ทั้ง 5 ด้านก็สอดคล้องกับแนวโน้มที่จะเกิดขึ้น เราจำเป็นต้อง เตรียมความพร้อมและมีแผนรองรับ ประการสำคัญเทคโนโลยีสารสนเทศจะเป็นกลไกในการผลักดันให้ระบบการบรหาร และบริการขององค์การมีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจและบทบาทของประเทศไทยเวทีโลก แหล่งอ้างอิงจุดแข็ง (Strengths)- ภาครัฐและเอกชนไทย ได้ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศเป็นอย่างมาก- มีหน่วยงานระดับชาติดำเนินการ/สนับสนุนนวัตกรรมด้าน ICT- มีการลงทุนนำ ICT มาใช้ในงานด้านต่างๆ มากขึ้น สามารถก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มแก่ผลิตภัณฑ์พื้นฐานจุดอ่อน (Weaknesses)- การกระจายโครงข่ายโทรคมนาคมไม่มีคุณภาพ และประสิทธิภาพเพียงพอ- ข้อจำกัดด้านงบประมาณภาครัฐ- ขาดกลไกการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง- ยังมิได้จัดตั้งหน่วยงานกำกับดูแลธุรกิจแข่งขันเสรีที่เป็นธรรมด้านโครงสร้างพื้นฐาน- แหล่งเงินทุนภายในประเทศยังไม่ถูกนำมาใช้เพื่อพัฒนา ICT ในประเทศโอกาส (Opportunities)- ผู้นำมีวิสัยทัศน์และเห็นความสำคัญของ ICT มากขึ้น- เริ่มมีการผ่านกฎหมายด้าน ICT- การพัฒนาประเทศไปสู่ knowledge-based society/economy (KBS/KBE)- การเป็นสังคมเปิดของประเทศไทยอุปสรรค (Threats)- การจัดสรรงบประมาณเกี่ยวกับ ICT ไม่ตรงตามความต้องการใช้งาน และขาดทิศทางที่ชัดเจน- ข้อจำกัดด้านงบประมาณภาครัฐ- ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจและคุ้นเคยต่อ ICTการกำหนดกลยุทธ์ (Strategies)เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรม ICT สู่ความเป็นเลิศในภูมิภาค1. พัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์โดยความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชน2. สร้างกลไกกระตุ้นการพัฒนา ICT3. พัฒนาตลาดผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ที่ผลิตจากผู้ประกอบการในประเทศโดยใช้ตลาดภาครัฐเป็นตัวนำ4. พัฒนาระบบติดตามผลการทำงานของ SIPA (สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ)5. จัดทำแผนแม่บทการพัฒนาบุคลากร ICT6. พัฒนาทักษะผู้ประกอบการและผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ไทย7. พัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการซอฟต์แวร์8. สนับสนุนให้มีศูนย์ทดสอบมาตรฐานผลิตภัณฑ์ICT9. สนับสนุนภาคเอกชนลงทุนในอุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์ต่อเนื่องซอฟต์แวร์10. เร่งรัดการยกร่างกฎหมาย ICTใช้ ICT เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคมไทย1. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโครงข่ายโทรคมนาคม2. ให้ใช้ประโยชน์จากกฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน3. ใช้ประโยชน์จาก ICT เพื่อพัฒนาการศึกษา การเรียนการสอน4. ส่งเสริมการแปลหนังสือ เอกสาร จากภาษาต่างประเทศ5. ส่งเสริมการพัฒนาข้อมูลและความรู้ในการครองชีพและยกระดับคุณภาพสังคมของชุมชน6. ส่งเสริมบทบาทสื่อมวลชนในการเผยแพร่ความรู้ด้าน ICT7. ส่งเสริมให้องค์กรส่วนท้องถิ่นใช้ประโยชน์จากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน8. พัฒนาและเตรียมความพร้อมด้านทรัพยากรมนุษย์9. สร้างความเชื่อมั่นต่อการนำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้ปฏิรูปและสร้างศักยภาพการวิจัยและพัฒนา ICT1.กำหนดนโยบายปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อพัฒนาหลักสูตรและแนวทางการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการคิดเชิงวิทยาศาสตร์2. สร้างแรงจูงใจให้บุคลากรสนใจที่จะประกอบอาชีพวิจัย3. ให้ภาครัฐจัดสรรงบประมาณในลักษณะเงินร่วมทุนเบื้องต้น (seed money) เพื่อสนับสนุนและจูงใจให้มีการลงทุน R&D ใน ICT4. กำหนดกลยุทธ์การส่งเสริม R&D ด้าน ICT ของไทย5. สนับสนุนการวิจัยคนคว้าเพื่อให้เกิดผลผลิตที่สามารถประยุกต์เป็นอุตสาหกรรมเชิงพาณิชย์6. จัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการ7. การติดตามรวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลด้าน ICT เพื่อสนับสนุนการวิจัยและพัฒนายกระดับศักยภาพพื้นฐานของสังคมไทยเพื่อการแข่งขันในอนาคต1. สร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์ของ ICT ผ่านทางเครือข่ายสถาบันการศึกษาของทุกภูมิภาคและชุมชน2. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคเอกชนผลิตอุปกรณ์ ICT ที่มีคุณภาพและราคาประหยัด3. กระตุ้นให้สาธารณชนในวงกว้างเกิดความสนใจใน ICTและกิจกรรมอิเล็กทรอนิกส์4. พัฒนาบุคลากรในวิชาชีพอื่นที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนา ICT โดยทั่วไปพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการ เพื่อมุ่งขยายตลาดต่างประเทศให้กว้างขวางขึ้น1. ทบทวนและปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา2. ส่งเสริมให้ภาคอุตสาหกรรมนำ ICT มาประยุกต์ใช้ในกระบวนการผลิตเพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม3. ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการนำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาประยุกต์ใช้เพื่อลดต้นทุนในการดำเนินงานสำหรับการขยายตลาดไปยังตลาดต่างประเทศ4. ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการใช้broadband internetส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมให้ใช้ ICT เพิ่มขึ้น1. จัดให้มีกลไก วิธีการถ่ายทอดและดูดซับเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าและเหมาะสมให้แก่SMEs2. สร้างแรงจูงใจให้เกิดกลุ่มพันธมิตร SMEs เพื่อจะร่วมกันนำ ICT ทั้งระบบมาใช้ประโยชน์ในการบริหารการจัดการธุรกิจ3. เร่งส่งเสริมและพัฒนา e-Business4. นำ ICT มาช่วยในการจัดการจัดการการทำธุรกิจ การสื่อสาร โดยเฉพาะการใช้supply chain management ในภาคอุตสาหกรรม5. พัฒนาผู้ประกอบการให้มีความรู้ความเข้าใจถึงประโยชน์ของการนำICT ที่เกิดจากอุตสาหกรรมภายในประเทศมาใช้ในธุรกิจ6. จัดทำฐานข้อมูลเพื่อประโยชน์ต่อการวางแผนและการให้บริการ7. พัฒนา SMEs Portal เพื่อให้บริการแก่ผู้ประกอบการ8. เสริมสร้างให้เกิดความเป็น entrepreneurshipนำ ICT มาใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการและการให้บริการของภาครัฐ1. ให้มีกระทรวงที่รับผิดชอบการวางแผน ส่งเสริม พัฒนา และดำเนินการด้าน ICT ของประเทศไทย2. ปฏิรูปการบริหารและการจัดการของหน่วยงานภาครัฐ โดยจัดตั้งโครงสร้างส่วนงานสนับสนุน CIO ปรับกฎระเบียบและวิธีบริหารราชการเพื่อใช้ประโยชน์จาก ICT และจัดสรรงบประมาณในการพัฒนา ICT อย่างมีประสิทธิภาพ3. พัฒนาฐานข้อมูลภาครัฐโดยกำหนดมาตรฐานที่เกี่ยวกับข้อมูลและการสื่อสารข้อมูล เพื่อให้ทุกหน่วยงานแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้อย่างมีเอกภาพ4. จัดให้มีระบบข้อมูลภูมิสารสนเทศ (GIS) เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม การบริหารจัดการทรัพยากร และการป้องกันภัยพิบัติ5. บริหารการใช้โครงข่ายสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพและมั่นคงปลอดภัย6. พัฒนาบุคลากรภาครัฐ ทั้งด้าน ICT และด้านอื่นๆ รวมถึงการจัดตั้งสถาบัน e-Government สำหรับการพัฒนาความรู้ความสามารถด้าน ICT7. พัฒนาระบบการติดตามประเมินผลเพื่อประเมินผลสำเร็จและวิเคราะห์ปัญหาการพัฒนา ICT ของประเทศในยุคปัจจุบันซึ่งเป็นยุคที่เรียกว่า "Digital Economy" ความสำคัญของ ICT มีผลต่อการพัฒนาประเทศชาติเป็นอย่างยิ่ง สังเกตจากประเทศสิงคโปร์ที่เน้นการนำ ICT มาเป็นอาวุธพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ ในเมืองไทยก็มีคนสนใจความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศค่อนข้างมาก ทั้งคนไอทีเอง และคนที่เราเรียกว่า Non-IT ที่ไม่ได้จบมาทางไอทีโดยตรง แต่ต้องการเปลี่ยนสายอาชีพโดยหันมาทำงานด้านไอที เพื่อให้เข้ากับยุค Digital Economy ดังนั้น ภาครัฐจึงควรให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง และเป็นรูปธรรม โดยให้มีการฝึกอบรมด้านไอทีต่างๆ และเร่งดำเนินการจัดทำกลยุทธ์เพื่อให้แผน IT 2010 ประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ อันจะช่วยให้การพัฒนาประเทศก้าวไปข้างหน้าอย่างแท้จริงประเด็นประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อบทบาทของผู้นำในยุคใหม่กล่าวได้ดังนี้จากการวิเคราะห์ SWOT ข้างต้นแล้วนั้นทำให้เราทราบถึงประโยชน์ รวมถึงความเป็นไปได้แห่งการพัฒนาสารสนเทศที่จะเกิดขึ้นในบ้านเมืองเรา ดังนั้นผู้นำในฐานะผู้ดูแลรับผิดชอบที่จะนำมวลชนแห่งองค์กรที่ตนรับผิดชอบนั้นฝ่าวิกฤต อุปสรรค ให้ข้ามผ่านถึงวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เนื่องจากประโยชน์ที่จะได้รับจากสิ่งเหล่านี้มีอยู่มากมายนัก โดยอาจสรุปได้ดังนี้ค่ะ1.ช่วยในการกำหนดวิสัยทัศน์ กำหนดยุทธศาสตร์ กำหนดภาระกิจ และการวางแผนการปฏิบัติงานที่ที่สอดคล้องต่อสถานการณ์ที่สลับซับซ้อนมากมายในปัจจุบัน2 . ช่วยในการตัดสินใจที่จะต้องเลือกแนวทางหรือทางเลือกที่มีที่น่าจะให้ผลลัพธ์ดีสุดและมีปัญหาน้อยที่สุด ตลอดจนสามารถพยากรณ์สถานการณ์และปัญหาได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ อีกทั้งเมื่อหากมีปัญหาเกิดขึ้นจริงก็สามารถใช้สารสนเทศที่สมบูรณ์ ทันสมัย และครบถ้วนมาช่วยแก้ปัญหาได้อย่างฉับไวและทันการณ์3. ช่วยในการดำเนินการ ควบคุมหรือติดตามผลการปฏิบัติงานซึ่งควรจะสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์และแผนงานต่าง ๆ ขององค์กรที่ผู้นำรับผิดชอบอยู่ประเด็นประโยชน์ของระบบสารสนเทศสำหรับประชาชนและประเทศชาติ กล่าวสรุปได้ดังนี้1. จะมีส่วนในการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทำให้ความเป็นอยู่สะดวกสบายขึ้นเช่นในกรณีใช้ควบคุมเครื่องปรับอากาศหรือระบบไฟฟ้าภายในบ้าน2. ช่วยทำให้เข้าถึงข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็ว มีประสิทธิภาพสูง3. ช่วยสร้างและกระจายโอกาสในการสร้างความเท่าเทียมกันในสังคมผู้อยู่ในถิ่นกันดารก็มีโอกาสเหมือนคนที่อยู่อาศัยในเมือง อาจจะเรียนรู้หรือรับทราบข่าวคราวได้อย่างรวดเร็ว4. ทำให้การอบรมมีประสิทธิภาพด้วยอุปกรณ์ประกอบการอบรมอย่างเช่น วีดีทัศน์ เครื่องฉายภาย คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การคำนวณ การออกแบบต่างๆ5. ช่วยในการจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ด้วยการใช้ภาพถ่ายดาวเทียม การติดตามข้อมูลสภาพอากาศ การพยากรณ์อากาศ การเก็บรวบรวมข้อมูลคุณภาพน้ำ การตรวจวัดมลภาวะ ตลอดจนการใช้ระบบการตรวจวัดระยะไกลที่เรียกว่า โทรมาตร6. ช่วยในการป้องกันประเทศในแง่การป้องกันภัย การเฝ้าระวัง และตอบโต้การโจมตีจากข้าศึก7. ช่วยในการผลิตในอุตสาหกรรมและการพาณิชยกรรม ช่วยประหยัดทรัพยากร ทำให้ต้นทุนในผลิตต่ำลงได้ง่ายขึ้น และสามารถทำให้การสั่งซื้อและส่งมอบสินค้าเป็นได้ง่ายและสะดวก8. สารสนเทศอาจจะนำไปบูรณาการกับเทคโนโลยี่ด้านอื่น ๆ ได้อีกมาก เช่นกับนาโนเทคโนโลยี่ เพื่อผลิตสินค้าขนาดจิ๋วซึ่งต้องอาศัยความละเอียดละออและแม่นยำ การทำพืชและสัตว์จีเอ็มโอที่จะมีคุณภาพตามวัตถุประสงค์จำเพาะด้านเคมีและยา หรือการขยายพันธุ์ที่ต้องการจำนวนมาก ๆ ในเวลาอันสั้น
บทบาท ICT กับการเรียนรู้.... ICT
คือ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ปัจจุบันพัฒนาการทางเทคโนโลยีสารสนเทศก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการประยุกต์ใช้งานอย่างกว้างขวาง คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตได้เข้ามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวัน ทั้งนี้เพราะเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และระบบสื่อสารโทรคมนาคมสามารถประมวลผลข้อมูลข่าวสารได้เร็ว และสื่อสารกันได้สะดวก เทคโนโลยีดังกล่าวจึงเรียกรวมว่า ICT - Information and Communication Technology ไอซีที มีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะการประยุกต์ในระบบการศึกษา ความหมาย ICT ICT ย่อมาจาก “Information and Communication Technology” หมายถึง “ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร” เทคโนโลยีสำหรับการประมวลผลสารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมถึงการรับ-ส่ง แปลง จัดเก็บ ประมวลผล และค้นคืนสารสนเทศ I ย่อมาจากคำว่า Information คือ ระบบสารสนเทศ C ย่อมาจากคำว่า Communication คือ การสื่อสาร T ย่อมาจากคำว่า Technology คือ เทคโนโลยี ในที่นี้คือ คอมพิวเตอร์ความสำคัญของ ICT การใช้ ICT ในการจัดการเรียนรู้ ความหมายโดยรวม หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ การสื่อสาร เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การรวบรวมการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล การพิมพ์ การสร้างงาน การสื่อสารข้อมูล ฯลฯ ซึ่งรวมไปถึงการให้บริการ การใช้ และการดูแลข้อมูล พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กำหนดแนวทางในการปฏิรูปการศึกษาไทย โดยให้ความสำคัญ กับผู้เรียนเป็นหลัก เพื่อรองรับกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลกทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและเทคโนโลยี ให้ความสำคัญสูงสุดในกระบวนการการปฏิรูปการเรียนรู้ ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มศักยภาพ สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และรู้จักแสวงหาความรู้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต จัดกระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง การปฏิบัติให้คิดเป็น ทำเป็น ปลูกฝังคุณธรรมในทุกวิชา มีเป้าหมายให้ผู้เรียนเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุขอย่างแท้จริง ปัจจุบันพบว่ากระทรวงศึกษาธิการได้เล็งเห็นความสำคัญเรื่อง ICT จึงได้กำหนดวิสัยทัศน์ในแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2550 – 2554 ดังนี้ “ผู้เรียน ผู้สอน บุคลากรทางการศึกษา และประชาชน ใช้ประโยชน์จาก ICT ในการเข้าถึงบริการทางการศึกษา ได้เต็มศักยภาพ อย่างมีจริยธรรม มีสมรรถนะทาง ICT ตามมาตรฐาน สากล” เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการศึกษาในภาพรวมอย่างเป็นรูปธรรม
ลักษณะการใช้ ICT · การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต· การนำข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตมาใช้งาน· การสร้างแหล่งข้อมูลด้วยตนเองบทบาทของสถานศึกษาในการใช้ ICT เพื่อจัดการเรียนรู้ บทบาทของสถานศึกษา 1. กำหนดนโยบายที่สอดคล้องกับสภาพปัจจุบันด้าน ICT 2. จัดทำหลักสูตร/จัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสภาพความต้องการด้าน ICT 3. ผู้บริหารมีความมุ่งมั่น และมีการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง 4. สนับสนุนครู และบุคลากรทางการศึกษาได้มีโอกาสเข้าถึงการใช้งาน ICT อย่างทั่วถึง 5. ปรับบทบาทและวิธีการสอนของครูสถานศึกษาที่มุ่งหวังจะนำ ICT มาใช้ในการเรียนการสอนจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องต่อไปนี้ 1. มีความร่วมมือระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้สอน 2. ติดต่อกับแหล่งความรู้ต่าง ๆ ทั้งในและนอกโรงเรียน สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ เชื่อมโยงโรงเรียนเข้ากับชุมชน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3. จัดการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ 4. ขจัดปัญหาเรื่องพรมแดน สถานที่และเวลา 5. นำศักยภาพของสื่อ ICT มาช่วยเสริมกระบวนการเรียนรู้ความสำเร็จในการใช้ ICT ในการเรียนรู้ 1. ผู้เรียน : จะต้องมีทักษะพื้นฐานในการใช้ ICT เพื่อการเรียนรู้ 2. หลักสูตร : จะต้องมีการสอดแทรก ICT เข้าในกิจกรรมการเรียนการสอนและส่งเสริมให้เกิดการคิด วิเคราะห์ และการสร้างองค์ความรู้ 3. ผู้สอน/ผู้บริหาร : จะต้องมีทักษะพื้นฐาน และสามารถนำ ICT ไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรมการเรียนการ สอน 4. เทคโนโลยี : เลือกใช้เทคโนโลยีได้สอดคล้อง และเหมาะสมกับผู้เรียนดังนั้น การจะพัฒนาประเทศให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ตลอดจนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันจำเป็นที่จะต้องมีการส่งเสริม พัฒนาโครงสร้าง ICT ให้ครอบคลุมทั่วทุกภาค ทั้งเขตเมือง และชนบท รวมทั้งการส่งเสริมการใช้ ICT ของประชากร ทั้งในการดำรงชีวิต และในการทำงาน ซึ่งจำเป็นที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องศึกษา และหาวิธีการที่จะกระตุ้นเพื่อให้ประชาชนได้เห็นถึงความสำคัญ และประโยชน์ของการใช้ ICT
พ่อแม่ควรใกล้ชิดลูกแก้ปัญหา ติดเน็ต ติดเกม ช่วงปิดเทอม

ต้องยอมรับว่าปัญหาเด็ก และเยาวชนไทยติดอินเทอร์เน็ต และเกม เป็นเรื่องที่หลายฝ่ายทั้งภาครัฐ นักวิชาการ และเครือข่ายผู้ปกครอง พยายามแก้ไขกันมาต่อเนื่อง หลังจากที่มีข่าวเกี่ยวกับภัยจากสื่อออนไลน์ หรืออาชญากรรมอื่นๆ ใช้ความรุนแรง ถูกนำเสนอตามสื่อต่างๆ ไม่เว้นในแต่ละวัน อาทิ การใช้เว็บไซต์ไฮไฟว์ล่อลวงเด็ก และวัยรุ่นชาย-หญิง ไปล่วงละเมิดทางเพศ หรือข่มขืนกระทำชำเรา แล้วถ่ายรูปไว้แบล็กเมล์เหยื่อผู้เคราะห์ร้าย การเปิดเว็บไซต์เพื่อขายยาเสพติด ยาทำแท้ง การพนัน และการโพสรูปภาพลามก อนาจาร หรือคลิปหลุดต่างๆ
จากปัญหาเหล่านี้ กลายมาเป็นความความห่วงใยของ นายธีระ สลักเพชร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ที่ได้สั่งกำชับให้ ศูนย์เฝ้าระวังทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ติดตามเฝ้าระวังปัญหาเยาวชนในช่วงปิดภาคเรียน เกี่ยวกับการติดเกม สื่อลามก ให้เข้มข้นขึ้นจากที่มีความเข้มข้นอยู่แล้ว รวมทั้งยังขอให้ผู้ปกครองและประชาชนทั่วไปที่พบเห็นปัญหาเยาวชน ได้ร่วมกันเฝ้าระวังและแจ้งเบาะแสมาทางเว็บไซต์ www.me.in.th เพื่อไม่ให้เยาวชนไทยมีพฤติกรรมเบี่ยงเบนในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
ก่อนหน้านี้มีรายงานข่าว นายประวิทย์ หลักบุญ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 4 รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 4 ได้กำชับผู้บริหารสถานศึกษา ระมัดระวังในปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นกับนักเรียน อาทิ การล่อลวง ต้มตุ๋นผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยให้ทุกคนได้ชี้แจงถึงเล่ห์เหลี่ยม การล่อลวงทางสื่ออินเทอร์เน็ตให้นักเรียนได้รับทราบ และแนะแนวทางป้องกันให้กับนักเรียน เพราะขณะนี้ โรงเรียนส่วนมากมีการเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์ การรับ-ส่งอีเมล์ โดยหากนักเรียนใช้ไปในทางไม่ถูกต้อง อาจเป็นภัยแก่ตัวเองทั้งชีวิต ทรัพย์สิน
นางสาวกรกนก สำเนากลาง ผู้ประสานงาน ศูนย์เฝ้าระวังภัยเทคโนโลยี มูลนิธิกระจกเงา อธิบายถึงปัญหาภัยออนไลน์ในช่วงปิดเทอมว่า ช่วงปิดเทอมใหญ่ฤดูร้อนเป็นเวลาที่ เด็กและเยาวชนมีโอกาสหายออกไปจากบ้านได้ เนื่องจากมีเวลาอยู่กับคอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ตนานขึ้น แต่ส่วนมากจะหนีไปอยู่ที่ร้านเกม ไม่กลับบ้านจนกว่าเงินจะหมด แต่เท่าที่สำรวจ 3 เดือนที่มากมีเด็กหายไม่ถึง 10 รายจากปัญหานี้ ส่วนปัญหาการล่อลวงผ่านโปรแกรมแชท หรือเว็บไซต์ไฮไฟว์ ส่วนมากจะเป็นการตามไปกับเพื่อนๆ มากกว่า การถูกล่อลวงไปข่มขืน แต่บางรายก็หายออกจากบ้านแบบเต็มใจกับผู้ชายมากหน้าหลายตา
ผู้ประสานงาน ศูนย์เฝ้าระวังภัยเทคโนโลยี อธิบายต่อว่า คำแนะนำสำหรับผู้ปกครองในการดูแลบุตร หลานในช่วงปิดเทอม เพื่อให้เด็กและเยาวชนปลอดภัยจากการถูกล่อลวง หรือหายออกไปจากบ้าน พ่อแม่ต้องพูดคุยกับลูกมากขึ้น ที่ผ่านมาพ่อแม่อาจไม่มีเวลาดูแลลูก เพราะต้องทำงาน แต่ช่วงเช้าก่อนไปทำงานควรมีเวลาพูดคุยกับลูก หากลูกจะออกไปนอกบ้าน ควรถามว่านัดใคร ไปกับเพื่อนกลุ่มไหน หากลูกเล่นเกม หรืออินเทอร์เน็ต ต้องจัดแบ่งเวลาเล่น และกิจกรรมอื่นๆ ด้วย พ่อแม่ต้องปรับตัวเข้าหาเด็ก การพูดคุยในลักษณะเหมือนเพื่อน ไม่ใช้ถ้อยคำรุนแรง หรือ ดุด่า ใช้เหตุผลและความเข้าใจ และต้องให้เด็กระมัดระวังในการให้ข้อมูลส่วนตัวผู้อื่น เช่น อีเมล์ หรือเบอร์โทรศัพท์มือถือ รวมทั้งระวังตัวในการไปพบเพื่อน ไม่ควรให้ไปคนเดียว
ด้าน นางศรีดา ตันทะอธิพานิช ผู้จัดการมูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย และเว็บไซต์ไทยฮอตไลน์ดอทโออาร์จี ให้ความเห็นถึงภัยออนไลน์ในช่วงปิดเทอมว่า จากที่ได้พูดคุยกับเครือข่าวผู้ปกครองทั่วประเทศ ยอมรับว่าช่วงปิดเทอมเด็ก และเยาวชน เล่นเกมมากขึ้นกว่าเดิม เพราะมีเวลาว่างอยู่กับคอมพิวเตอร์ทั้งวัน โดยที่ไม่มีคนดูแล เนื่องจากผู้ปกครองต้องออกนอกบ้านไปทำงาน โดยช่วงปิดเทอมยิ่งต้องเอาใจใส่ และจับตาดูบุตรหลานมากขึ้น รวมทั้งต้องวางแผนจัดกิจกรรมให้กับลูก เพราะเมื่อเด็กไม่มีอะไรทำ เขาจะไปเล่นเกม เล่นอินเทอร์เน็ต ดังนั้น ควรจัดตารางเรียนพิเศษ หรือพาไปเข้าค่ายกิจกรรมอื่นๆ บ้าง
ผู้จัดการมูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย อธิบายอีกว่า การดุด่า หรือจับผิดลูกไม่มีประโยชน์ พ่อแม่ต้องทำการบ้านหาข้อมูลที่เรียนพิเศษ หรือกิจกรรม ค่ายเยาวชน อาทิ ค่ายศิลปะ ค่ายอบรมถ่ายภาพ หรือเขียนโปรแกรมแอนิเมชัน แต่ต้องไม่ลืมว่าการเรียนมากๆ ทำให้เด็กเครียดต้องมีกิจกรรมบันเทิง เพื่อผ่อนคลาย รวมถึงการพาไปเยี่ยมญาติ เพื่อกระชับความสัมพันธ์ในครอบครัวด้วย โดยการให้จัดตารางเวลาช่วงปิดเทอม จะเป็นการฝึกให้บุตร หลานได้ทำงานตามเป้าหมาย ช่วยในการบริหารเวลา ที่ผ่านมาพ่อแม่จำนวนไม่น้อยใช้เงินเลี้ยงลูก ทิ้งเงินก้อนใหญ่ให้ลูกใช้จ่าย ตรงนี้ก็ทำให้เด็กมีพฤติกรรมใช้จ่ายเกินตัวด้วย
นางศรีดา อธิบายเพิ่มเติมว่า หรือบางรายฝากลูกไว้กับร้านเกม ก็ทำให้เล็กติดเกมอีก เนื่องจากน้านก็ต้องการให้เด็กเล่นนานๆ เห็นได้จากอุปกรณ์อำนวยความสะดวก บริการน้ำ อาหาร แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ควรวางใจฝากลูกให้คนอื่นดูแล ส่วนภายในบ้านต้องจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม อาทิ การจัดโทรทัศน์ และคอมพิวเตอร์ไว้กลางบ้าน ในจุดที่คนมองเห็นง่าย ไม่ใช้เวลากับสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากเกินไป ทั้งนี้แทนที่จะจ่ายเงินเพื่อความบันเทิง แต่นำเงินส่วนนั้นมาสมัครค่ายอบรมต่างๆ ในช่วงปิดเทอมให้ลูกจะดีกว่า อย่างน้อยเขาสามารถนำความรู้จากการอบรมมาใช้ชีวิตประจำวันได้
ช่วงเวลาปิดเทอมเป็นโอกาสทองของเด็กๆ ที่จะได้พักผ่อนหลังจากคร่ำเคร่งกับการเรียนมาตลอดปี แต่ก็เป็นช่วงเวลาที่พ่อแม่ผู้ปกครองต้องระวัง และเอาใจใส่บุตรหลานอย่างใกล้ชิดด้วยเช่นกัน จะฝากความหวังให้รัฐบาล หรือ โรงเรียนดูแลตลอดไปไม่ได้ เพราะครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ในการอบรม และให้ความรัก ความอบอุ่น การเอาใจใส่และพยายามพูดคุยกับบุตรหลาน เพื่อให้เกิดความไว้วางใจ จะช่วยให้ผู้ปกครองเข้าใจและรู้จักเพื่อน และสังคมของลูก อันจะทำให้เราป้องกันภัยออนไลน์ต่างๆ ที่หวังจะเข้ามาล่อลวง หรือ หลอกให้บุตรหลานไปในทางที่ไม่เหมาะสมได้ ดังนั้น ยังไม่สายที่ทุกครอบครัวจะหันหน้าเข้ามาพูดคุยกัน และหากิจกรรมให้กับเด็กและครอบครัวใช้เวลาร่วมกัน มากกว่าปล่อยให้ลูกเล่นเกมทั้งวัน แล้วกลายเป็นเด็กติดเกมที่แก้ไขยากในอนาคต...

บมความจาก : ไทยรัฐ
ปกป้องเด็กจากภัยโลกออนไลน์ หน้าที่ใครต้องรับผิดชอบ
หลังจากที่ IT Digest ได้นำเสนอกิจกรรมของเว็บไซต์ ไทยฮอตไลน์ดอทโออาร์จี (http://www.thaihotline.org/) มาต่อเนื่องจนเพิ่งเปิดตัว และประกาศการถึงดำเนินงานอย่างเป็นทางการไปเมื่อวันที่ 1 เม.ย.2552 ที่ผ่านมา คงต้องชมเชย และสนับสนุนมูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย ในฐานะผู้ดำเนินงานหลักที่มีความตั้งใจ เป็นตัวกลางในการแก้ไขปัญหาเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสมบนอินเทอร์เน็ต เนื่องจากในยุคที่มีการหลอมรวมทางเทคโนโลยี เนื้อหาดิจิตอลบนโลกออนไลน์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกัน การเผยแพร่เนื้อหาที่เป็นอันตราย ผิดกฎหมาย มีมากตามไปด้วย แม้จะมีกฎหมายหลายฉบับที่ใช้ในการกำกับดูแล แต่ยังขาดการตีความที่ชัดเจนว่าเนื้อหาแบบใดที่เข้าข่ายไม่เหมาะสม หรือต้องห้าม ดังนั้น การที่ภาคเอกชนมาร่วมกันแก้ปัญหาการนำข้อมูลที่เป็นอันตรายเข้าสู่ระบบ ผ่านกลไกการแจ้ง และประสานงานระหว่างสมาชิกในลักษณะสายด่วนรับแจ้งเหตุเว็บไม่เหมาะสม จึงเป็นเรื่องดีที่น่าสนับสนุน เพื่อช่วยกันปกป้องสิ่งไม่ดีบนโลกออนไลน์ การล่อลวง หรือการล่วงละเมิดทางเพศ และแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศจากเด็กและเยาวชน แต่นอกจากเว็บไซต์ไทยฮอตไลน์ที่กล่าวไปแล้ว ยังมีทางอื่นอีกไหมที่ไม่ต้องรอให้เกิดเรื่องราว หรือมีเว็บไซต์ไม่เหมาะสมเกิดขึ้นมาสร้างปัญหาให้สังคมก่อน ดังนั้นนอกจากการเปิดตัวเว็บไซต์ไทยฮอตไลน์แล้ว จึงมีเวทีเสวนาของผู้เกี่ยวข้อง ทั้งจากเครือข่ายครอบครัว องค์กรเอกชนด้านสิทธิเด็ก สมาคมผู้ดูแลเว็บไทย และสมาคมผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไทย ในหัวข้อ “การปกป้องเด็กบนโลกออนไลน์” เพื่อช่วยกันแก้ปัญหาดังกล่าว
นางสาวกฤษณา พิมลแสงสุริยา เจ้าหน้าที่ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค และเอเชียตะวันออก มูลนิธิเพื่อยุติการแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็ก หรือ ECPAT อธิบายว่า เนื่องจากเทคโนโลยีไอซีที และอินเทอร์เน็ตพัฒนาไปมาก ทำให้คนไม่หวังดีใช้เป็นเครื่องมือเพื่อเข้าถึงตัวเด็ก อาทิ ไฮไฟว์ หรือ โปรแกรมสนทนา มาสร้างความสัมพันธ์ ดังนั้น เทคโนยีไม่ใช่ผู้ร้าย แต่คนที่เอาไปใช้ต่างหาก คือ ผู้ร้ายตัวจริง เพราะคนที่ชอบมีเพศสัมพันธ์กับเด็ก มักอาศัยเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเข้าไปสานสัมพันธ์ เพื่อหาโอกาสล่วงละเมิดจากนั้นจะมีการบันทึกวิดีโอเอาไว้ เพื่อเผยแพร่ให้กับสมาชิกคนอื่นๆ ในสมาคมด้วยกันเองได้ดู เจ้าหน้าที่ฯ ECPAT อธิบายต่อว่า ยังมีคนที่มีความเชื่อว่า ต้องการสร้างประสบการณ์ทางเพศให้กับเด็ก หรือแม้แต่ทำในเชิงการค้าด้วยการร่วมเพศกับเด็ก แล้วถ่ายทอดสดออกทางอินเทอร์เน็ต ตามความต้องการของลูกค้าที่อยากดู เป็นต้น คนไม่ดีเหล่านี้อาศัยการทำให้เหยื่อไว้เนื้อเชื่อใจ ยอมให้เข้าใกล้ เมื่อรู้จักกันแล้วคนเหล่านี้จะพยายามบังคับหลอกล่อให้เด็ก แสดงท่าทางยั่วยวนทางเว็บแคม โดยคนเหล่านี้จะมีวิธีในการบังคับให้เด็กทำกิจกรรมทางเพศ (Internet Sexual Coercion) นอกจากนี้ยังมีการทำสื่อลามกเด็กโดยไม่ใช้เด็กเป็นบุคคลจริง แต่เปลี่ยนไปใช้ตัวการ์ตูน เป็นต้น
ด้าน นางสาวทองไพรำ ปุ้ยตระกูล เจ้าหน้าที่มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก อธิบายถึงปัญหาของเด็กที่เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตว่า ปัญหาที่ทางมูลนิธิรับแจ้งที่ผ่านมา ได้แก่ การทารุณกรรม และการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศจากเด็ก แต่ระยะหลังผู้ปกครองเริ่มโทรศัพท์มาปรึกษาเกี่ยวกับเด็กติดเกม ผลกระทบทำให้เกิดความรุนแรงจากเนื้อหาของเกมทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ที่เด็กแต่ละคนมีแนวโน้มที่จะเล่นมากขึ้น ยากที่จะหยุดได้ เพราะเกมมีความตื่นเต้น เร้าใจ ส่งผลให้เด็กเริ่มไม่สนใจสังคม ไม่สนใจการเรียน เนื่องจากสมาธิจดจ่อกับเกม บางรายแอบขโมยเงินพ่อแม่ไปเล่นเกมที่ร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ จนกลับบ้านดึก
เจ้าหน้าที่มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก อธิบายต่อว่า ขณะที่ปัญหาจากการแชทพบมากขึ้น เพราะผู้ปกครองร้องเรียนว่าบุตรหลานเมื่อเล่นแชทแล้ว อยากออกไปเจอคนต่างประเทศ หรือเพื่อนที่แชทด้วยกัน แล้วสุดท้ายเด็กถูกหลอกให้โชว์เรือนร่าง ผ่านทางเว็บแคม แล้วโดนผู้ไม่หวังดีถ่ายรูปแบล็กเมล์เรียกร้อง ให้ยอมทำตามที่ผู้ไม่หวังดีต้องการ ดังนั้น อยากให้ภาครัฐที่มีอำนาจเข้าไปจัดการ ขณะที่ผู้ปกครองต้องคอยสอดส่อง หากมีสัญญาณอันตรายว่าบุตรหลานจะถูกล่อลวง จะต้องเข้าแทรกแซงทันที่ เพื่อป้องกันและพยายามพูดคุยกับบุตรหลานเพื่อสร้างความอบอุ่นในครอบครัว “อยากให้ภาครัฐผลักดันกฎหมายการครอบครองสื่อลามก เพื่อดำเนินการกับผู้ที่มีภาพโป๊เปลือยของเด็ก ปัญหาเหล่านี้ทุกฝายต้องร่วมมือกัน เพราะพ่อแม่ตามการเปลี่ยนแปลงของสังคมเด็กไม่ทัน โดยต้องมีการอบรมให้เด็ก รู้จักสิทธิ์ความเป็นเจ้าของร่างกาย พ่อแม่ต้องปกป้องลูกมีการประเมินความเสี่ยงที่จะถูกล่วงละเมิดทาเพศ โดยความสัมพันธ์ในครอบครัวต้องแข้งแข็ง และมีความอบอุ่นในครอบครัวด้วย” นางสาวทองไพรำ กล่าว
เจ้าหน้าที่มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก อธิบายเพิ่มเติมว่า ถึงเวลาแล้วที่พ่อแม่ผู้ปกครองต้องเสริมภูมิคุ้มกัน หรือให้วัคซีนแก่เด็กและเยาวชน ด้วยการยกระดับการเรียนรู้ของเด็ก พยายามสอนให้เด็กมีกระบวนความคิด เพื่อสร้างให้สังคมไทยเกิดความเข้มแข็ง ต้องเฟ้นหาแบบอย่างที่ดีในสังคม พยายามให้เด็กคิดเป็น รู้จักสิทธิ์ในร่างกาย อันจะทำให้เกิดสัญชาติญาณระวังภัย รวมทั้งรู้จักปฏิเสธ หรือห้ามปรามเมื่อมีผู้ไม่หวังดี เข้ามาใกล้ หรือเข้ามาลวนลาม
ส่วน นางมรกต กุลธรรมโยธิน นายสมาคมผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไทย ให้ความเห็นว่า เมื่ออินเทอร์เน็ตกระจายตัวไปสู่สังคมวงกว้าง นำไปสู่การเกิดขึ้นของ “สังคมดิจิตอล” หรือ โลกเสมือนบนพื้นที่ไซเบอร์ ที่ผู้คนสามารถแสดงออกในสิ่งที่สังคมปกติทำไม่ได้ ด้วยความที่มีอิสระเสรีมากกว่าอยูในโลกความเป็นจริง ความจริงแล้วอินทอร์เน็ตยังมีภัยอีกมากมาย ไม่ใช่มีแค่การล่อลวงเพื่อล่วงละเมิดทางเพศ ยังมีปัญหามัลแวร์ สแปมเมล์ และฟิชชิ่ง ด้วย เนื่องจากไอเอสพี คือ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ที่เชื่อมต่อทุกคนเข้าด้วยกัน ดังนั้นส่วนตัวมองว่า ไอเอสพีทุกรายจึงต้องให้ความร่วมมือ และประสานงานกันเพื่อร่วมแก้ปัญหาเว็บไซต์ไม่เหมาะสม
นายกสมาคมผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไทย ให้ความเห็นเสริมว่า ไม่ใช่ว่าแก้ปัญหาที่ไอเอสพีแล้ว ภัยออนไลน์ต่างๆ จะหายไป ยังต้องมีคนในครอบครัว พ่อแม่ผู้ปกครอง ครู โรงเรียน คอยอบรมให้คำแนะนำแก่เด็ก รวมทั้งสร้างกติการใช้การใช้อินเทอร์เน็ตตามความเหมาะสม เนื่องจากสังอินเทอร์เน็ตไม่ต่างไปจากสังคมจริงๆ ที่ยังมีมุมมืดที่คนมองไม่เห็น ดังนั้นหากเว็บไซต์ไม่ดี หรือเนื้อหาไม่เมหาะสมถ้าไม่กระจายไปสู่สังคม ก็ไม่มีคนที่รับรู้มาก ดังนั้นการทำงานของไทยฮอตไลน์ก็คงจะทำแบบเงียบๆ ไม่มีข่าวออกมาจะดีกว่า
พ.ต.อ.ญาณพล ยั่งยืน นายกสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย กล่าวถึงการแก้ปัญหาการใช้อินเทอร์เน็ตล่อลวงเด็กไปล่วงละเมิดทางเพศว่า หลายครั้งที่เจ้าหน้าที่ตำรวจพยายามเข้าไปปกป้องสวัสดิภาพแก่เด็ก ที่ถูกชาวต่างชาติลวนลาม แต่กลับกลายว่าเข้าไปขัดขวางการค้าประเวณี ที่เด็กยินยอมพร้อมใจ เด็กและเยาวชนเหล่านั้นจะรู้ไหมว่า ช่องทางการติดต่อผ่านแชทรูม หรือ เว็บแคมแบบนี้เป็นอัตรายต่อตัวเอง แม้ผ่านมากฎหมายของไทยให้ความคุ้มครองเด็ก ที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศอย่างดีมาตลอด แต่บางครั้งตัวเด็กเองก็ไปสมยอม กับคนที่ชอบซื้อบริการทางเพศเด็ก เพื่อให้เกิดการกระทำความผิดเสียเอง
“ถึงเวลาแล้วที่ผู้ใหญ่ในสังคมจะช่วยกันปลูกจิตสำนึก และสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กดีกว่า ในต่างประเทศเด็กมีภูมิคุ้มกัน เพราะถูกอบรมเลี้ยงดู และมีวินัย แม้ว่าบ้านเมืองเขาจะมีเว็บโป๊ถูกกฎหมายมากมาย แต่เด็กไม่เปิดดูซ้ำยังมีการโวยวายไม่พอใจอีกด้วย แต่เด็กไทยไม่มีวินัยในตัวเอง มีความประพฤติหย่อนยาน เมื่อเกิดเรื่องไม่ดีขึ้นมา มักโทษให้เป็นความรับผิดชอบของสังคม โรงเรียน และรัฐบาล พ่อแม่พลักความรับผิดชอบในการดูแลลูก ต่างจากผู้ปกครองต่างชาติที่เน้นความสำคัญของครอบครัวมากกว่างาน หรือเพื่อนฝูง ดังนั้นอยากให้ทุกฝ่ายมาร่วมกันสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็ก ได้เลือกบริโภคสื่อที่ดีบ้าง” นายกสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย กล่าวทิ้งท้าย
การให้เด็กได้เข้าถึงเทคโนโลยี เป็นเรื่องที่ดี แต่ต้องมีการควบคุมและขอบเขต สิ่งที่อยากฝากให้สังคมไทยได้ตระหนัก คือ การทำให้เด็กไทยสามารถดูแลตัวเอง รู้จักแยกแยะ และปฏิเสธที่จะรับสื่อที่เหมาะสม จำเป็นอย่างยิ่งที่สังคมเล็กในระดับครอบครัวต้องเข้มแข็ง และแสดงแบบอย่างที่ดี เพราะเด็กและเยาวชนใช้เวลาอยู่กับครอบครัวมากกว่า โรงเรียน หรือร้านเกม อย่าผลักภาระให้สังคมดูแลลูก เพราะสังคมมีทั้งคนดีและคนไม่ดี หากตกไปอยู่ในหมู่ของคนไม่ดี เด็กย่อมได้รับอันตรายตามไปด้วย...

บทความจาก : ไทยรัฐ

คอมพิวเตอร์เพื่อผู้สูงวัย

ทศพนธ์ นรทัศน์
thossaphol@ictforall.org
ผู้สูงวัยที่กลัวคอมพิวเตอร์เพราะคิดว่ามันทันสมัยเกินไปสำหรับคนรุ่นตน แต่กระแสของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ที่ถาโถมเข้ามาในยุคโลกาภิวัตน์ทำให้ผู้คนไม่อาจปฏิเสธคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตได้อีกต่อไป คอมพิวเตอร์และ
อินเทอร์เน็ตในวันนี้ก็ไม่ต่างกับวิทยุ โทรทัศน์ ที่ใครๆ ก็ควรจะใช้เป็นในยุคนี้ แม้กระทั่งคุณตาคุณยายผู้สูงวัย วันนี้ก็มี
ข่าวดีมาฝาก เมื่อเว็บไซต์ข่าว BBC ของอังกฤษ (http://news.bbc.co.uk/2/hi/technology/8352606.stm) ได้รายงาน
เมื่อวันพุธที่ 11 พฤศจิกายน 2552 ถึงการผลิตคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่เพื่อผู้สูงวัยโดยเฉพาะ
คอมพิวเตอร์รุ่นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้สูงวัยซึ่งมีอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่ไม่คุ้นเคยกับคอมพิวเตอร์และ
อินเทอร์เน็ต สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตได้อย่างง่ายๆ เครื่องรุ่นนี้เรียกว่า “SimplicITy” มันมีเพียง 6
ปุ่ม เพื่อให้ผู้สูงวัยสามารถใช้งานคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตพื้นฐานได้อย่างง่ายดาย เช่น รับ-ส่งอีเมล์ และสนทนา
(chat)
คุณยาย Betty Parson,วัย 80 ปี กับการใช้คอมพิวเตอร์ครั้งแรก
คอมพิวเตอร์จะสอนคุณตาคุณยายถึงวิธีใช้งานเบื้องต้นผ่านวีดิโอซึ่งดูจากตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เลย เชื่อว่า
ประชาชนที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป จำนวนกว่า 6 ล้านคนของอังกฤษที่ไม่เคยใช้อินเทอร์เน็ตมาก่อนจะได้รับประโยชน์จาก
คอมพิวเตอร์รุ่นนี้ ผู้สนใจสามารถสั่งซื้อและจะได้รับภายใน 2 สัปดาห์หลังจากสั่งซื้อ โดยสามารถให้จัดส่งมาทาง
ไปรษณีย์ได้ด้วย คอมพิวเตอร์รุ่นนี้ถูกพัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง Wessex Computers และเว็บไซต์เพื่อผู้สูงวัย
ที่เรียกว่า “discount-age -- www.discount-age.co.uk/simplicity_computers/” ก่อตั้งโดย Ms Singleton เธอกล่าวว่า
เธอรู้สึกซ็อคกับรายงานผลการสำรวจของสำนักงานสถิแห่งชาติอังกฤษ (Office for National Statistics) เมื่อเดือน
สิงหาคม 2552 ที่ว่า ประชากรที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปจำนวน 6.4 ล้านคนไม่เคยใช้คอมพิวเตอร์มาก่อน ซึ่งใกล้เคียงกับสถติ
ของประเทศไทยจากรายงานสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2551 ของ
สำนักงานสถิติแห่งชาติของไทย พบว่าประชากรกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป (จำนวน 7,244,133 คน) มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์
106,972 คน (คิดเป็นร้อยละ 1.5) มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 60,283 คน (คิดเป็นร้อยละ 0.8)
2
Valerie Singleton กล่าวว่า “ฉันคิดว่าผู้สูงวัย เหล่านั้นคงไม่รู้จักวิธีใช้
มัน ฉันเองก็ใช้คอมพิวเตอร์มาก แต่ก็ไม่ได้รู้ทุกอย่าง ทุกครั้งที่ฉันเรียนรู้อะไรใหม่ๆ
เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฉันจะต้องจดมันไว้เพื่อที่จะให้จดจำมันได้”
แต่สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่น SimplicITy แล้วมันเป็นอะไรที่ใช้งานได้ง่าย
มาก ผู้ใช้ไม่ต้องล็อคอินเข้าใช้งานเมื่อเปิดเครื่องขึ้นมา และไม่มีเมนูที่ยุ่งยากจนไม่รู้ว่า
จะเลือกหรือเริ่มต้นที่ไหนดี อย่าง Drop-down menu. มันจะนำคุณตรงไปที่หน้าจอที่เรียกว่า "square one" ซึ่งมีปุ่ม
ต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการใช้งานสำหรับ รับ-ส่งอีเมล์, ท่องเว็บ, จัดการไฟล์ (เพื่อจัดเก็บไฟล์เวิร์ด รูปภาพ เป็นต้น),
สนทนาออนไลน์ (Online chat) และ User profile
ระบบอีเมล์ถูกปรับปรุงจากการออกแบบในสไตล์อิตาเลียน เรียกว่า “Eldy” ผู้ใช้เครื่อง SimplicITy สามารถ
สนทนาผ่านเว็บไซต์ eldy.org โดยใช้ปุ่ม “chat” คอมพิวเตอร์รุ่นนี้ใช้ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติที่ให้ใช้
ฟรีไม่มีค่าลิขสิทธิ์ ผู้ใช้สามารถปรับแต่งได้ แต่หากผู้ใช้ไม่ต้องการใช้หน้าจอแบบ SimplicITy desktop ก็สามารถ
เปลี่ยนเป็นหน้าจอปกติ หรือที่เรียกว่า Standard Linux desktop ซึ่งจะเหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับผู้สูงวัยที่ใช้
คอมพิวเตอร์จนคุ้นเคยแล้ว และต้องการขยายขีดความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ให้เพิ่มมากขึ้น
Andrew Harrop, หัวหน้าหน่วยงานด้านนโยบายสาธารณะเพื่อผู้สูงวัย (Head of public policy for charity
Age Concern and Help the Aged) กล่าวว่า ความพยายามที่จะทำให้ผู้สูงวัยเข้าสู่โลกออนไลน์เป็นที่น่าปรบมือให้
อย่างยิ่ง เพราะผู้สูงวัย(เกษียณอายุแล้ว) ที่ไม่สามารถเข้าถึงโลกออนไลน์ได้จะพลาดโอกาสจากส่วนลดเป็นร้อยปอนด์
จะได้รับจากการช้อปปิ้งออนไลน์ หรืออัตราดอกเบี้ยที่สูงสำหรับบัญชีเงินฝากแบบออมทรัพย์ นี้ยังไม่รวมถึงประโยชน์
ทางสังคมต่างๆ ที่จะได้รับในโลกออนไลน์.
แต่สำหรับผู้สูงวัยในประเทศไทยแล้ว คงยากที่จะเข้าถึงเจ้าคอมพิวเตอร์รุ่นนี้ได้ เพราะมันยังมีราคาจำหน่าย
ค่อนข้างสูง ประมาณ 16,799.44 - 29,445.44 บาท ตามคุณลักษณะและความสามารถของเครื่อง ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ได้ที่ www.discount-age.co.uk/simplicity_computers/ แต่ผู้เขียนเห็นว่าจริงๆ แล้วคอมพิวเตอร์เครื่องนี้ก็คงเป็นเหมือน
คอมพิวเตอร์ทั่วไป เพียงแต่ทำให้ซอฟต์แวร์ใช้งานมีลักษณะที่ง่ายและเหมาะสำหรับผู้สูงวัยที่ไม่คุ้นเคยกับคอมพิวเตอร์
มาก่อน หากเราสามารถนำซอฟต์แวร์มาปรับแต่งและใช้งานในประเทศไทยได้ราคาคงจะถูกลงพอๆ กับเครื่อง
คอมพิวเตอร์ทั่วไปในท้องตลาด หรืออาจถูกกว่าเพราะตัวนี้ใช้ระบบปฏิบัติการโอเพ่นซอร์สอย่างลีนุกซ์ แน่นอนว่ามันคง
จะช่วยให้ผู้สูงวัยของไทยหลายคนเข้าสู่โลกออนไลน์ได้อย่างมีความสุขและเป็นผู้สูงวัยหัวใจไฮเทคอย่างแน่นอน.